ไข 6 กลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ Startup ที่ช่วยดึงดูดผู้บริโภค

ปัจจุบัน เมื่อบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่หลายรายครองพื้นที่ทางการตลาดไปแล้วมากกว่า 80% และยังไม่รวมถึงแบรนด์ที่อยู่ในวงการมานานจนเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภค แล้วธุรกิจ Startup ซึ่งเป็นน้องใหม่ในวงการจะต้องทำอย่างไร เพื่อตีตลาดเข้าไปและอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะนอกจากจะมีคู่แข่งมากหน้าหลายตาแล้ว ยังต้องเจอกับกลยุทธ์สุดโหดต่าง ๆ ที่แบรนด์ใหญ่ ๆ ต่างก็งัดมาแข่งขันกันเพื่อเอาชนะใจลูกค้าอีกด้วย

เมื่อนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจ Startup หลายรายกำลังประสบปัญหาการเติบโต แม้ว่าคนในองค์กรจะล้วนเป็นคนรุ่นใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความมุ่งมั่น และมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าการจะแซงหน้าธุรกิจรายใหญ่ที่อยู่ในวงการการตลาดมาก่อนแล้วและมีกลยุทธ์การตลาดที่เยี่ยมยอดกว่านั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย

วันนี้ เราจะมาบอก “6 กลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ Startup ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุดสำหรับการทำแคมเปญการตลาดของธุรกิจน้องใหม่แห่งวงการ!

กลยุทธ์การตลาดมีอะไรบ้าง

กำหนดกลุ่มเป้าหมายของตนเอง

การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือสิ่งแรกที่ทุกธุรกิจต้องทำ ไม่ใช่แค่เพียง Startup เพราะหากเราไม่รู้ว่าเรากำลังจะขายสินค้าหรือบริการให้ใคร การทำธุรกิจของเราก็จะเปรียบเสมือนการหว่านแหไปแบบกว้าง ๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่าคนที่รับรู้เกี่ยวกับแบรนด์เรานั้นจะเป็นคนที่มีแนวโน้มมาเป็นลูกค้าของเราจริงหรือไม่ ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้ก่อน แล้วจึงศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกลุ่มคนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ อาชีพ พื้นที่ที่อาศัยอยู่ รวมถึงความชอบและความสนใจส่วนตัว โดยสามารถทำตามหลัก Buyer Persona เพื่อให้เข้าใจในตัวตนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตนเองมากขึ้น และจะได้สามารถวางกลยุทธ์การตลาดขั้นต่อ ๆ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากนั้น เมื่อรู้แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร ก็ให้สร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) โดยเจาะไปยังกลุ่มคนเหล่านั้นเพื่อดึงดูดให้พวกเขาเข้ามาดูหน้าเว็บไซต์ หรือเกิดปฏิสัมพันธ์บางอย่างกับเรา ผ่านการซื้อพื้นที่โฆษณา (Ads) ซึ่งการที่เรายิงโฆษณาโดยที่สามารถระบุรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณขึ้นไปอีกขั้น เนื่องจากผู้ที่เห็นโฆษณาของเราจะเป็นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาเป็นลูกค้าเราจริง ๆ ไม่ใช่การหว่านแหดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

 

คิดค้นกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์

เมื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ลำดับถัดมาคือการสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มคนเหล่านั้น โดยอาจเป็นคอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ (Education Content) เพราะนอกจากจะสามารถสร้างคุณค่าแก่ผู้อ่านได้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาเป็นลูกค้าของเราได้ค้นพบวิธีแก้ไขปัญหาที่พวกเขาประสบอยู่อีกด้วย เมื่อนั้น ผู้อ่านก็จะรู้สึกสนใจในธุรกิจของเราจนอาจกดเข้ามายังหน้าเว็บไซต์หรือหน้า Landing Page ที่เป็นแคมเปญเฉพาะกลุ่ม และมีปฏิกิริยาบางอย่างต่อสินค้าหรือบริการของเรา เช่น การสมัครสมาชิก การลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร การดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือการกดสั่งซื้อ เป็นต้น

นอกจากการมีเนื้อหาที่ดีแล้ว คอนเทนต์ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องทำให้ติดอันดับการค้นหาบนหน้าแรกของ Google ให้ได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการทำ SEO (Search Engine Optimization) นั่นเอง โดยในบทความจะต้องมีการใช้คีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักพิมพ์ค้นหาเกี่ยวกับธุรกิจของเรา เพื่อกระจายเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามายังเว็บไซต์ อันจะเป็นโอกาสอันดีของเราในการเก็บข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อนำมาวิเคราะห์แผนการตลาดในขั้นต่อไป

อย่างไรก็ตาม การทำ SEO นั้นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าเว็บไซต์ของเราจะเป็นที่รู้จัก แต่ต้องอย่าลืมเช็กให้มั่นใจก่อนว่า คอนเทนต์ของเราตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด โดยการจะเขียนอะไรออกมาสักอย่างหนึ่งนั้น ให้คำนึงถึงความต้องการและตัวตนของผู้อ่านเอาไว้เสมอ เพื่อให้คอนเทนต์ที่สร้างขึ้นมาเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้พบเห็น แต่ถ้าหากยังไม่มั่นใจเรื่องเทคนิคการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับ ก็แนะนำให้ลองปรึกษาเอเจนซีที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดดู เพราะจะช่วยรับประกันผลลัพธ์ได้มากกว่าอย่างแน่นอน

 

มีเว็บไซต์ที่สะท้อนถึงตัวตนขององค์กรชัดเจน

หากเราเป็น Startup ด้านเทคโนโลยี หรือแม้แต่ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในแนวหน้าของการปฏิวัติเทคโนโลยี สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือหน้าเว็บไซต์ที่สะท้อนถึงตัวตนขององค์กรอย่างชัดเจน เพราะโดยทั่วไปแล้ว เว็บไซต์เปรียบเสมือนด่านหน้าของทุกธุรกิจที่เป็นตัวตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายว่าควรไปต่อหรือพอแค่นี้กับแบรนด์ของเรา แต่ถ้าหากเราทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีแล้วละก็ เว็บไซต์จะมีความสำคัญมากกว่านั้นอีกเป็นเท่าตัว เพราะลักษณะของเว็บไซต์จะสื่อให้เห็นถึงศักยภาพของคนในองค์กรว่ามีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน โดยตัวอย่างการสร้างความโดดเด่นให้แก่เว็บไซต์ของตนเอง เช่น

  • ออกแบบเว็บไซต์ที่สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ใช้งานเสมอ หรือสร้างช่องทางการลงทะเบียนรับสิทธิ์ในการเข้าร่วมสัมมนาหรือแคมเปญต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ เพื่อกระตุ้นให้คนกดเข้ามาบนเว็บฯ มากขึ้น
  • สร้างประสบการณ์เชิงโต้ตอบผ่าน Chatbot ที่ตอบสนองได้ 24 ชั่วโมง หรือส่งคอนเทนต์หากลุ่มเป้าหมายโดยตรงด้วยเทคนิคการตลาดอัตโนมัติ (Marketing Automation) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี รวดเร็วทันใจ และเฉพาะเจาะจงแก่ลูกค้ามากขึ้น

 

สร้างสรรค์คอนเทนต์วิดีโอ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนด้านเนื้อหาที่ดีที่สุดของกลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ Startup  คือการสร้างสรรค์คอนเทนต์วิดีโอเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะวิดีโอที่มีทั้งภาพและเสียงนั้นสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากกว่าเนื้อหาที่มีแต่ตัวอักษรล้วน ๆ ซึ่งต้องใช้พลังงานและเวลาในการอ่าน นอกจากนี้ คอนเทนต์วิดีโอยังง่ายต่อการแชร์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและอีเมลเพื่อเพิ่มการมองเห็นอีกด้วย โดยสถิติการทำ Digital Marketing สำหรับ Startup ด้วยวิดีโอ มีดังนี้

  • สามารถเพิ่มยอดการค้นหาของธุรกิจ Startup ด้านเทคโนโลยีได้ถึง 157%
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่อธิบายด้วยคอนเทนต์วิดีโอ จะสามารถเพิ่มการสอบถามทางอีเมลได้ถึง 127% และมีอัตราการคลิกเพิ่มขึ้น 138%

 

ทำการตลาดแบบบัดดี (Buddy Marketing)

อีกหนึ่งเทคนิคการทำ Digital Marketing สำหรับ Startup ที่พลาดไม่ได้ คือ การตลาดแบบบัดดี หรือ Buddy Marketing อันเป็นการร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ และการรวมทรัพยากรของเราเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้ โดยบริษัทที่เป็นบัดดีกันมักจะใช้พื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์ร่วมกัน ตลอดจนขายสินค้าหรือบริการให้กันและกัน นอกจากนี้ ยังมีการเสนอส่วนลดหรือรหัสโปรโมชันให้แก่บริษัทพันธมิตรหรือพาร์ตเนอร์ของตนเองด้วย

ทั้งนี้ ในการเริ่มต้นทำ Startup นั้น เราจะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บไซต์ เพื่อให้เป็นบัดดีของเว็บไซต์หลัก เช่น Siam Blockchain ที่เป็นเว็บข่าวสารด้านการเงินดิจิทัล ก็ได้รวมเอาโฆษณาของเว็บเทรดเงินดิจิทัลอย่าง Bitkub เอาไว้ด้วย หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนที่มีเว็บไซต์เผยแพร่ข่าวสารของตนเอง ก็สามารถจับมือกับแพลตฟอร์มที่ทำธุรกิจในด้านเดียวกันได้เช่นกัน หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ ต่างคนต่างโฆษณาให้กันนั่นเอง

 

เข้าสังคมและทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จัก

กลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ Startup ข้อสุดท้ายนี้เรียกได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่หากเราสามารถทำให้คนรู้จักได้มากเท่าไร เราก็จะยิ่งขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น อย่าได้รู้สึกเขินอายที่จะไปร่วมประชุม สัมมนา หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในวงการ Startup เพื่อการเข้าสังคมและพบปะผู้คนใหม่ ๆ ที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแบ่งปันประสบการณ์หรือแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจแก่กันและกัน การทำเช่นนี้จะช่วยให้องค์กรของเราเป็นที่รู้จักและมีผู้สนับสนุนมากขึ้น

 

สรุป

 ในโลกที่มีการแข่งขันสูงอย่างปัจจุบันนี้ การดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เป็นเหตุให้เราต้องหมั่นสร้างความโดดเด่นให้แก่ตัวเองด้วยเทคนิคต่าง ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่อาศัยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี หรือธุรกิจ Startup อื่น ๆ ทั้งที่ก่อตั้งมาไม่นานหรืออยู่ในวงการมานานแล้ว ก็สามารถนำกลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ Startup ทั้ง 6 ข้อข้างต้นนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ เพราะทุกข้อที่ได้กล่าวไปนั้น ถือเป็นเทคนิคการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มยอดการมองเห็น