ASO คืออะไร ทำอย่างไรให้แอปพลิเคชันติดหน้าแรกบน App Store

นักการตลาดคงจะคุ้นเคยกับศัพท์ดิจิทัลกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะ SEO, SEM, PPC ฯลฯ แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินคำว่า ASO มาก่อน เพราะ ASO ไม่ใช่การปรับปรุงแพลตฟอร์มธุรกิจของเราบน Search Engine ทว่าจะโฟกัสไปที่ App Store โดยเฉพาะ

พอพูดถึง App Store ก็คงพอเดากันได้ว่า ASO เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “แอปพลิเคชัน” จึงไม่แปลกเท่าไรว่าทำไมศัพท์นี้ถึงไม่ค่อยกว้างขวางเท่ากับคำว่า SEO เพราะหลาย ๆ ธุรกิจก็ไม่ได้มีแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง หรือสำหรับบางคนที่เพิ่งเริ่มทำ ก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีวิธีการทำ ASO หรือ App Store Optimisation ให้แอปฯ ของเราถูกมองเห็นมากกว่าเดิม แต่ถ้ารู้จัก SEO มาก่อนแล้ว และยังสงสัยว่า ASO คืออะไร ก็บอกเลยว่าเมื่ออ่านบทความนี้จะสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ อย่างแน่นอน เพราะทั้งสองอย่างมีความคล้ายคลึงกันในหลายจุดทีเดียว

ไปดูกันเลยว่า App Store Optimisation คืออะไร

ASO ต่างจาก SEO อย่างไร

App Store Optimisation (ASO) คืออะไร

ASO หรือ App Store Optimisation คืออะไร ฟังดูคุ้น ๆ เหมือนเคยได้ยินที่ไหนมาก่อนหรือเปล่า

ใช่แล้ว ! มันคล้ายกับชื่อ Search Engine Optimisation หรือ SEO นั่นเอง

ในขณะที่ SEO คือการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ตามเกณฑ์ที่ Google กำหนด เพื่อให้ติดอันดับบนหน้าแรกของผลการค้นหา ASO หรือ App Store Optimisation คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นของแอปพลิเคชันให้ขึ้นมาอยู่บนอันดับแรก ๆ ของ App Store ในคีย์เวิร์ดที่เราต้องการ โดย App Store ในที่นี้ หมายถึงทั้ง Apple App Store และ Google Play Store ของ Android

ปัจจุบัน จากสถิติของ App Store พบว่าผู้ใช้งาน 63% จะเจอแอปพลิเคชันจากการค้นหา แต่มีจำนวนแอปพลิเคชันมากถึง 73% ที่ถูกเรียกว่า  “ซอมบีแอปฯ (Zombie Apps)” เพราะไม่เคยถูกผู้ใช้งานค้นพบมาก่อน เฉพาะใน Google Play Store ก็มีแอปพลิเคชันราว 1.1 ล้านแอปฯ ที่ไม่เคยมีผู้ใช้งานคนไหนเห็นเลย อีกทั้งหลาย ๆ คนก็อาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับการทำ App Store Optimisation

ต้องบอกว่าทั้ง App Store และ Google Play Store นั้นต่างก็มีอัตราการแข่งขันที่สูงมาก ด้วยจำนวนแอปพลิเคชันที่มีให้ดาวน์โหลดมากกว่า 5 ล้านแอปฯ ดังนั้น หัวใจสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพ App Store คือการทำให้อันดับแอปพลิเคชันสูงขึ้น เพื่อที่จะได้ถูกผู้ใช้งานค้นพบได้ง่ายกว่าเดิม เพราะยิ่งเราถูกจัดอันดับไว้สูงเท่าไร แอปฯ ของเราก็จะยิ่งมีโอกาสถูกดาวน์โหลดมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้การทำ ASO จำเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจที่มีแอปพลิเคชัน

 

เทคนิคการทำ ASO คืออะไร

ในการทำ ASO นั้น จะมีหลักการพื้นฐานคล้าย ๆ กับ SEO ซึ่งถ้าใครเคยทำ SEO มาก่อนแล้วก็จะสามารถเข้าใจหลักการเหล่านี้ได้ง่าย แต่ถ้าไม่เคยก็ไม่ต้องกังวล เพราะเราจะอธิบายโดยละเอียด ให้ผู้ที่ทำการตลาดแอปพลิเคชันทุกคนสามารถเพิ่มการมองเห็นของแอปฯ ตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ในการเพิ่มศักยภาพการมองเห็นก็คือ “คีย์เวิร์ด” หรือคำหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา โดยมีหลักการดังนี้

  • ควรเลือกคำที่คนมักใช้ค้นหาแอปฯ เป็นหลัก
  • พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชัน เพราะจะทำให้อัลกอริทึมไม่นำไปพิจารณาในการจัดอันดับ
  • คีย์เวิร์ดไม่ควรเป็นประโยคยาว ๆ ให้ใช้เป็นคำเดียวหรือกลุ่มคำสั้น ๆ พอ
  • ไม่ใช้คีย์เวิร์ดที่มีคำว่า “แอป (App)” หรือชื่อแบรนด์ของคู่แข่ง

นอกเหนือจากหลักการข้างต้นนี้ เราสามารถใช้ Google Keyword Planner หรือเครื่องมือทำ Keyword Research อื่น ๆ เพื่อค้นหาคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมกับธุรกิจได้เหมือนการทำ SEO จากนั้น เราก็นำคีย์เวิร์ดที่เลือกมาใส่ในชื่อ (App Title) และคำอธิบาย (Meta Description) ให้ผู้ใช้งานที่เซิร์ชคีย์เวิร์ดดังกล่าวเจอแอปฯ ของเราเป็นอันดับแรก ๆ

ปรับชื่อและคำอธิบายแอปฯ ให้เหมาะสม

นอกจากจะต้องใส่คีย์เวิร์ดลงไปในชื่อและคำอธิบายแล้ว ยังต้องจำกัดตัวอักษรไม่ให้ยาวเกินไปจนดูไม่น่าอ่านด้วย โดยการตั้งชื่อแอปฯ ที่เหมาะสมจะมีจำนวนอยู่ที่ไม่เกิน 25 ตัวอักษร และที่สำคัญ ควรตั้งชื่อให้จดจำง่ายเพื่อเพิ่มยอดการดาวน์โหลด หากใช้ชื่อบริษัทหรือคีย์เวิร์ดที่อยู่อันดับต้น ๆ จะยิ่งให้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานหาเราเจอได้ง่ายขึ้น

วิธีง่าย ๆ ในการตั้งชื่อแอปฯ คือ เมื่อเราเลือกชื่อได้แล้ว ให้ลองนำชื่อนั้นไปค้นหาใน App Store ดูว่ามีใครใช้ชื่อเดียวกับเราบ้างหรือไม่ หากมีผลการค้นหาขึ้นเป็นหลักร้อยหรือพันแอปฯ นั่นหมายความว่าชื่อของเรายังไม่สร้างสรรค์พอที่จะสร้างการจดจำแก่ผู้ใช้งานได้ อีกทั้งยังมีการแข่งขันสูงด้วย ดังนั้น ควรหาชื่อที่ไม่ซ้ำใครจะดีกว่า

ในส่วนของคำอธิบายแอปฯ ควรเขียนให้สั้น กระชับ และเข้าใจง่ายมากที่สุด โดยต้องไม่ลืมใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องลงไปด้วย หากเป็นไปได้ ไม่ควรเขียนเกิน 250 ตัวอักษร เพราะจะทำให้หน้าจอแสดงผลไม่หมด และขึ้นเป็นการคลิก “อ่านเพิ่มเติม” แทน ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานเลื่อนผ่านไปเฉย ๆ ได้ เพราะขี้เกียจอ่านอะไรยาว ๆ

ใช้ไอคอนแอปฯ และภาพประกอบที่สวยงาม น่าดึงดูด

ความสวยงามของสิ่งที่เห็น เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจว่าจะดาวน์โหลดหรือไม่ ก่อนอื่น เราต้องออกแบบไอคอนแอปฯ ที่เป็นเอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย และดูมีความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้ผู้พบเห็นรู้สึกสะดุดตา ตลอดจนให้ความไว้วางใจที่จะดาวน์โหลดมากขึ้น ที่สำคัญ ควรเลือกใช้สีที่แตกต่างจากคู่แข่งเพื่อป้องกันการสับสน

นอกจากไอคอนแล้ว ยังมีภาพประกอบที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะผู้ใช้งานส่วนมากจะดูภาพประกอบก่อนตัดสินใจดาวน์โหลดเสมอ แนะนำให้ใช้ภาพที่สวยงาม เข้ากับภาพลักษณ์ของแบรนด์ หากมีหลายภาพก็ควรทำให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อคุมโทนให้ดูสบายตา ซึ่งกระบวนการนี้อาจต้องอาศัยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้าน UX/UI เข้ามาช่วย เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีทำ ASO

ใช้สื่อที่เป็นวิดีโอเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

จากสถิติพบว่า การเพิ่มสื่อที่เป็นวิดีโอเข้าไปในหน้าดาวน์โหลดแอปฯ จะช่วยเพิ่มอัตราการดาวน์โหลดได้ถึง 35% ซึ่งมากกว่าการปรับแต่งชื่อแอปฯ และการใช้รูปภาพเสียอีก และแน่นอนว่ายอดดาวน์โหลดที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่ออันดับของเราบน App Store ด้วย ดังนั้น นอกเหนือจากรูปภาพธรรมดา ๆ เราควรเพิ่มวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันเข้าไปให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานรู้สึกอยากดาวน์โหลดมากกว่าเดิม หรือจะทำเป็น Motion Graphics สวย ๆ ก็ได้เช่นกัน

พยายามอัปเดตแอปฯ อย่างสม่ำเสมอ

หากเราสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมาแล้วปล่อยทิ้งร้าง ไม่เคยอัปเดตเลย ก็อาจทำให้คู่แข่งก้าวล้ำหน้าเราไปได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีการปรับปรุงแอปพลิเคชันตามข้อเสนอแนะของผู้ใช้งานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เสมอ หรือตรวจสอบคู่แข่งที่ทำแอปพลิเคชันคล้าย ๆ กันว่า เขามีกลยุทธ์อย่างไรถึงประสบความสำเร็จ แล้วนำกลยุทธ์เหล่านั้นมาปรับปรุงอัปเดตแอปพลิเคชันของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

 

ความแตกต่างระหว่าง SEO กับ ASO คืออะไร

ด้วยกระบวนการที่คล้ายคลึงกันนี้ ทำให้บางครั้ง ASO ก็ถูกเรียกว่า App Store SEO แต่ความจริงแล้ว การทำ SEO นั้นมีความซับซ้อนกว่า ASO มาก แล้วยังมีเครื่องมือและซอฟต์แวร์มากมายที่ช่วยให้กระบวนการทำงานง่ายขึ้น ในขณะที่การทำ ASO แม้จะไม่ซับซ้อนเท่า แต่ก็ต้องอาศัยการลองผิดลองถูกเองมากกว่า เพราะส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การสร้างคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันนั้น ๆ เป็นหลัก ส่วน SEO นอกจากเรื่องคีย์เวิร์ดแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วนที่นำมาใช้พิจารณาในการจัดอันดับ นอกจากนี้ การทำ ASO ยังเป็นกลยุทธ์สำหรับแอปพลิเคชันบนมือถือเท่านั้น ส่วน SEO ใช้สำหรับเว็บไซต์

 

สรุป

อ่านมาถึงตรงนี้ คาดว่าทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกันแล้วว่า ASO หรือ App Store Optimisation คืออะไร สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มทำแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง บอกเลยว่าจะพลาดกลยุทธ์นี้ไปไม่ได้ เพราะ ASO คือกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หากปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกวิธีแล้ว รับรองว่าเมื่อผู้ใช้งานเซิร์ชหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันของเรา จะต้องเจอเราเป็นอันดับแรก ๆ อย่างแน่นอน เมื่อนั้น เราก็จะได้รับยอดดาวน์โหลดที่เพิ่มมากขึ้น และประสบความสำเร็จในการพัฒนาแอปพลิเคชัน

สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการถูกมองเห็นให้ธุรกิจของตัวเอง ที่ Primal Digital Agency เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกท่านให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และเห็นผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาได้เลยวันนี้