Wireframe คืออะไร ทำไมนักออกเว็บไซต์ SEO ควรต้องรู้จัก!

ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเปลี่ยนผ่านสู่ออนไลน์ เว็บไซต์อาจเปรียบได้กับ “หน้าร้านออนไลน์” ที่มีไว้ให้ผู้ใช้เข้ามาเยี่ยมชม ทั้งนี้ การออกแบบเว็บไซต์ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะทำให้กลุ่มเป้าหมายมีประสบการณ์ที่ดีในการเข้าชม เว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายและได้ประสิทธิภาพ ยังส่งผลดีต่อการทำ SEO ยังสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ใช้รายใหม่ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และขยายฐานลูกค้าออนไลน์ได้ในระยะยาวด้วย!

ทั้งนี้เมื่อพูดถึงการออกแบบเว็บไซต์ ตัวช่วยที่นักทำเว็บฯ หลายคนขาดไม่ได้ก็คือ Wireframe ทว่า Wireframe คืออะไร และจะสามารถช่วยให้การออกแบบเว็บไซต์ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้จริงหรือไม่ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบพร้อมกัน!

นักออกแบบเว็บไซต์ กำลังออกแบบ Wireframe เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน

Wireframe คืออะไร

Wireframe เปรียบเสมือน “พิมพ์เขียว” ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เป็นการร่างโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ ของหน้าเว็บฯ โดยไม่ต้องใส่รายละเอียดปลีกย่อย เช่น สี ตัวอักษร หรือรูปภาพ พูดง่าย ๆ ก็เปรียบเสมือนการวางผังโครงสร้างของบ้านก่อนที่จะเริ่มสร้างจริง

 

องค์ประกอบหลักของ Wireframe มีอะไรบ้าง?

การทำ Wireframe เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่เป็นการร่างโครงคร่าว ๆ ของเว็บไซต์ เพื่อให้การออกแบบเว็บไซต์สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด ทั้งนี้ Wireframe มีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้

  • โครงสร้าง (Structure): หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บฯ เช่น เนื้อหา เมนู รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ทั้งนี้ โครงสร้างที่ดีจะช่วยให้ใช้เว็บไซต์ได้ง่าย ค้นหาข้อมูลได้สะดวก และใช้งานได้อย่างราบรื่น
  • เนื้อหา (Content): หมายถึง ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่แสดงบนหน้าเว็บฯ ทั้งนี้ เว็บไซต์ที่ดีควรออกแบบเนื้อหาให้มีความน่าสนใจ ตรงประเด็น และตรงกับความต้องการและตอบข้อสงสัยของผู้ใช้งาน
  • องค์ประกอบการโต้ตอบ (Interactive Elements): หมายถึง ปุ่ม ลิงก์ เมนู และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ผู้ใช้งานสามารถคลิกเพื่อโต้ตอบกับเว็บไซต์ ทั้งนี้หากสามารถออกแบบองค์ประกอบให้ผู้ใช้ตอบโต้กับเว็บไซต์ได้เข้าใจง่าย สะดวก และตอบสนองต่อการคลิกอย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสของการมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่ยอดการมีส่วนร่วมในเว็บไซต์ที่สูงขึ้นได้
  • รูปแบบภาพ (Visual Design): หมายถึง การออกแบบดีไซน์ความสวยงามของหน้าเว็บฯ โดยรวม เช่น สี ตัวอักษร รูปภาพ และกราฟิก ทั้งนี้ควรออกแบบให้ดึงดูดสายตา และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ โดยอาจกำหนดคู่สีหรือ CI ที่ชัดเจน ก็จะช่วยให้เว็บไซต์เป็นที่จดจำมากขึ้นได้
  • การใช้งาน (Usability): หมายถึง ความง่ายและสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ ผู้ใช้งานควรสามารถค้นหาข้อมูลและท่องทั่วเว็บฯ ได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีใช้ที่ซับซ้อน

ประโยชน์ของ Wireframe ในการออกแบบเว็บไซต์

การใช้ Wireframe ในการออกแบบเว็บไซต์นั้น มีข้อดีมากมาย เราขอยกตัวอย่างความสำคัญของ Wireframe ให้ทุกคนเห็นภาพชัด ดังนี้

  • วางโครงสร้างเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ: Wireframe เปรียบเสมือนแผนที่นำทาง ช่วยให้นักออกแบบเว็บไซต์วางโครงสร้างได้อย่างมีระบบ คิดล่วงหน้าว่าเนื้อหาจะอยู่ตรงไหน องค์ประกอบต่าง ๆ จะมีหน้าที่อะไร ช่วยให้การออกแบบเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
  • สื่อสารกับทีมพัฒนาเว็บไซต์ได้ง่าย: Wireframe ช่วยให้สื่อสารกับทีมพัฒนาเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอธิบายรายละเอียดปลีกย่อย ช่วยให้เข้าใจตรงกันและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย: Wireframe ช่วยให้แก้ไขงานได้ง่าย โดยไม่ต้องเสียเวลาแก้ไขโค้ดหรือรูปภาพ ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเว็บไซต์
  • ใช้ทดสอบเว็บไซต์ก่อนเปิดใช้งานจริง: Wireframe ช่วยให้นักพัฒนาสามารถทดสอบการใช้งานเว็บไซต์กับผู้ใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้เสร็จสมบูรณ์ ช่วยให้ปรับแก้เว็บฯ ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานก่อนเปิดใช้งานจริงได้

 

ประเภทของ wireframe

การทำ Wireframe สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • Low-fidelity Wireframe

เป็นการร่างแบบคร่าว ๆ เน้นการวางโครงสร้างและองค์ประกอบหลักของหน้าเว็บฯ โดยไม่ใส่รายละเอียดปลีกย่อย มักใช้ในช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ เพื่อระดมความคิด กำหนดโครงสร้าง และทดสอบแนวคิด 

เครื่องมือที่ใช้: กระดาษ ดินสอ ปากกา โปรแกรมวาดภาพง่าย ๆ เช่น Sketch, Adobe Illustrator

  • Medium-fidelity Wireframe

เป็นการร่างแบบละเอียดขึ้น เริ่มใส่รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ตำแหน่งของปุ่ม รูปภาพ ข้อความต่าง ๆ มักใช้ในช่วงกลางของการออกแบบ เพื่อทดสอบการใช้งาน ตรวจสอบการไหลของข้อมูล และปรับแต่งดีไซน์

เครื่องมือที่ใช้: โปรแกรมสร้าง Wireframe เช่น Sketch, Adobe XD, Figma

  • High-fidelity Wireframe

เป็นการร่างแบบที่ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริงมากที่สุด มีการใส่รายละเอียดครบถ้วน เช่น สี ตัวอักษร รูปภาพ เงา มักใช้ในช่วงท้ายของการออกแบบ เพื่อนำเสนอผลงานต่อลูกค้า ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายละเอียดก่อนพัฒนาเว็บไซต์จริง

เครื่องมือที่ใช้: โปรแกรมสร้าง Wireframe เช่น Sketch, Adobe XD, Figma

 

เปรียบเทียบ Wireframe, Mockup และ Prototype ต่างกันอย่างไร?

เมื่อ Wireframe เป็นเสมือนโครงร่างของเว็บไซต์ก่อนใช้งานจริง ทำให้หลายคนสงสัยว่าแล้วสิ่งนี้จะแตกต่างจาก Mockup และ Prototype อย่างไร?

  • Wireframe 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น Wireframe เป็นการร่างแบบคร่าว ๆ เน้นการวางโครงสร้างและองค์ประกอบหลักของหน้าเว็บฯ โดยไม่ใส่รายละเอียดปลีกย่อย เสมือน “พิมพ์เขียว” ของเว็บไซต์ ใช้ในช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ เพื่อระดมความคิด กำหนดโครงสร้าง และทดสอบแนวคิด

  • Mockup

เป็นการออกแบบที่ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริง เปรียบเสมือน “ภาพจำลอง” ของเว็บไซต์ มีการใส่รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น สี ตัวอักษร รูปภาพ เงา มักใช้ในช่วงกลางของการออกแบบ เพื่อนำเสนอผลงานต่อลูกค้า ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายละเอียดก่อนพัฒนาเว็บไซต์จริง

  • Prototype

เป็นการออกแบบที่ใช้งานได้จริง เปรียบเสมือน “ต้นแบบ” ของเว็บไซต์ซึ่งสามารถโต้ตอบกับองค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บได้จริง มักใช้ในช่วงท้ายของการออกแบบ เพื่อทดสอบการใช้งาน ตรวจสอบความลื่นไหลของข้อมูล และปรับแต่งดีไซน์

ทั้งนี้ ความแตกต่างอาจสรุปได้เป็นตารางดังนี้

ประเภท

ลักษณะ

จุดประสงค์

Wireframe

ร่างแบบคร่าว

วางโครงสร้าง ทดสอบแนวคิด

Mockup

ออกแบบใกล้เคียงจริง

นำเสนอผลงาน ตรวจสอบความถูกต้อง

Prototype

ออกแบบใช้งานได้จริง

ทดสอบการใช้งาน ปรับแต่งดีไซน์

6 ขั้นตอนสร้าง Wireframe ที่มีประสิทธิภาพ

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากลองสร้าง Wireframe ดูบ้าง เรามี 6 ขั้นตอนการสร้าง Wireframe มาแนะนำ 

  • กำหนดเป้าหมายในการทำเว็บไซต์และกลุ่มผู้ใช้งาน

กำหนดเป้าหมายและกลุ่มผู้ใช้ของเว็บฯ หรือแอปพลิเคชันให้ชัดเจน โดยกำหนดข้อมูลผู้ใช้ทั้งข้อมูลประชากร พฤติกรรม และความต้องการของผู้ใช้ ส่วนเป้าหมายกำหนดให้ชัดว่าต้องการผลลัพธ์อะไร ต้องการสื่อสารข้อความอะไร ต้องการสร้างประสบการณ์แบบไหน ตัวอย่างเช่น 

  • เป้าหมาย: เว็บไซต์ขายเสื้อผ้าออนไลน์ ต้องการเพิ่มยอดขาย
  • กลุ่มผู้ใช้: ผู้หญิงวัย 20-35 ปี ทำงาน ชอบแต่งตัว มองหาเสื้อผ้าแฟชั่นราคาไม่แพง
  • รวบรวมข้อมูลที่ต้องการให้มีในหน้าเว็บไซต์

รวบรวมสิ่งที่ต้องการให้แสดงในหน้าเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา ฟังก์ชันการทำงาน รูปแบบการนำทาง รวมไปถึงข้อกำหนดทางเทคนิค โดยเลือกให้แสดงในสิ่งที่ตอบโจทย์ผู้ใช้และวัตถุประสงค์การสร้างเว็บไซต์ให้ได้มากที่สุด

  • เนื้อหา: ข้อมูล ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ 
  • ฟังก์ชันการทำงาน: คุณสมบัติต่าง ๆ ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้า ระบบสมาชิก ระบบการชำระเงิน
  • รูปแบบการนำทาง: โครงสร้างของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เช่น เมนู หน้าต่าง ลิงก์
  • ข้อกำหนดทางเทคนิค: ความละเอียดหน้าจอที่รองรับ ประเภทอุปกรณ์ที่รองรับ (คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต) เบราว์เซอร์ที่รองรับ ภาษาที่รองรับ
  • วาดโครงร่าง

เริ่มต้นวาดโครงร่างคร่าว ๆ โดยใช้กระดาษ ดินสอ หรือโปรแกรมสร้าง Wireframe เน้นการวางโครงสร้างและองค์ประกอบหลักของหน้าเว็บ เช่น เนื้อหา เมนู รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ใช้เส้นและรูปทรงเรขาคณิตแทนองค์ประกอบต่าง ๆ และจัดองค์ประกอบให้ใช้งานง่าย สวยงาม และสะดวกสำหรับผู้ใช้งานมากที่สุด

  • เพิ่มรายละเอียด

เมื่อได้โครงร่าง แนะนำให้ใส่รายละเอียด เช่น สี ตัวอักษร รูปภาพ เงา ฯลฯ ใส่คำอธิบายและข้อความอธิบายการทำงานขององค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึงใส่ปุ่ม CTA (Call to Action) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ซื้อสินค้า สมัครสมาชิก ติดต่อเรา

  • ทดสอบและแก้ไข

ลองทดสอบ Wireframe กับผู้ใช้งานจริง โดยสังเกตพฤติกรรมและสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้งาน เพื่อเก็บ Feedback และนำมาแก้ไข Wireframe ให้สมบูรณ์แบบ

 

การทำ Wireframe กับ UX/UI: มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

 Wireframe มีความสัมพันธ์กับการทำ UX/UI โดยตรง อาจกล่าวได้ว่า Wireframe เป็นเครื่องมือหลักของ UX Designer ในการวางโครงสร้าง ออกแบบการใช้งานและทดสอบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) ของเว็บไซต์ช่วยให้ทีมพัฒนาเข้าใจและสามารถทดสอบแก้ไขโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงาน และรูปแบบการนำทางก่อนที่จะพัฒนาเวอร์ชันจริง ซึ่งช่วยให้ทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

 

แนวโน้มการใช้ Wireframe ในอนาคต

ในอนาคต Wireframe มีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น โปรแกรมสร้าง Mockup และ Prototype เพื่อสร้างต้นแบบที่สมจริง อีกทั้ง Wireframe ยังมีแนวโน้มที่จะใช้ออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับความละเอียดหน้าจอที่หลากหลาย และใช้งานได้ง่ายบนอุปกรณ์พกพา

นอกจากนี้ Wireframe จะถูกใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) ซึ่งช่วยให้นักออกแบบสามารถสร้าง Wireframe ที่สมจริงและมีมิติมากขึ้น และในอนาคต AI จะถูกใช้เพื่อช่วยนักออกแบบสร้าง Wireframe ด้วย

ทีมพัฒนาเว็บไซต์กำลังร่างการทำ Wireframe เพื่อออกแบบเลย์เอาต์สำหรับการทำ UI/ UX บนเว็บไซต์

สรุป

การมี Wireframe นอกจากจะช่วยให้ออกแบบเว็บฯ ได้ง่ายและประหยัดเวลา ยังเป็นรากฐานที่ทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำ SEO ด้วย ดังนั้น ถ้าธุรกิจสามารถใช้ Wireframe ได้อย่างเกิดประโยชน์ ก็อาจทำให้เว็บไซต์อยู่อันดับต้น ๆ ในหน้าค้นหา ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นหนทางให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต

ทั้งนี้ ถ้าคุณมีคำถาม ก็สามารถปรึกษา Primal Digital Agency ของเราได้เลย เราคือเอนซีรับจ้างทำ SEO ชั้นนำของเมืองไทย ที่มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมแนะนำการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ SEO โดยตรง กรอกรายละเอียดเพื่อปรึกษาเราได้เลยตอนนี้!