โปรโมตแบรนด์อย่างไรให้ยอดขายโต? Brand Ambassador คือคำตอบ

สำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ในยุคที่ต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือด เป็นธรรมดาที่ทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ต่างก็ต้องออกกลยุทธ์เด็ดออกมาเพื่อสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธ์อย่างการใช้ Brand Ambassador มักถูกนำมาใช้บ่อยครั้งที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์แล้ว ยังจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าด้วย  

อย่างไรก็ดี การใช้ Brand Ambassador ต้องใช้งบประมาณทางการตลาดไม่น้อย ดังนั้น ก่อนที่ธุรกิจจะเลือกใช้กลยุทธ์นี้มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาด จำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ Brand Ambassador อย่างรอบด้านเสียก่อน แต่จะมีเรื่องไหนที่ผู้ประกอบการควรรู้บ้าง เรารวบรวมมาไว้ให้แล้ว 

 

 brand ambassador คือ

 

Brand Ambassador คืออะไร? กลยุทธ์การตลาดที่ให้มากกว่าภาพลักษณ์

ถ้ากล่าวถึงการเลือกใช้ Brand Ambassador หลายคนคงต้องนึกภาพศิลปิน ดารา หรือแม้แต่นักร้อง ที่เป็นภาพแทนของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาเล่นโฆษณาทางทีวี ออกอีเวนต์โปรโมตสินค้า หรือแม้แต่ Tie-In สินค้าในรายการต่าง ๆ

แต่ในยุคของการทำธุรกิจออนไลน์ คำจำกัดความของ Brand Ambassador ไม่ได้มีเพียงที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงคนในแวดวงต่าง ๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย และได้รับความสนใจจากโลกโซเชียลมีเดีย   

ซึ่งถ้าหากแปลตรงตัวคำว่า Brand Ambassador จะหมายความว่า ทูต หรือ ตัวแทนของแบรนด์ ซึ่งก็คือบุคคลที่เหมือนเป็นภาพสะท้อนของแบรนด์ การใช้กลยุทธ์นี้เพื่อทำการตลาด จะเป็นการอาศัยพลังความมีชื่อเสียง ความเชี่ยวชาญ หรือศักยภาพการเป็นภาพจำของ Brand Ambassador เพื่อโปรโมตให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ Brand Ambassador ยังมีหน้าที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อให้เกิดการสร้างกระแสสังคมแบบปากต่อปาก (Word-of-Mouth) โดยสามารถใช้คนดังในวงการใดก็ได้ ตั้งแต่อินฟลูเอนเซอร์ไปจนถึงบุคคลทั่วไปที่เป็นแฟนคลับของสินค้าหรือบริการ ซึ่งโดยทั่วไปการเลือก Brand Ambassador สักคน แบรนด์จะต้องพิจารณาจากความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และความสามารถในการสร้างความประทับใจเชิงบวกที่ Brand Ambassador คนนั้น ๆ จะสามารถทำได้

 

Brand Ambassador มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท

Brand Ambassador สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท แต่โดยทั่วไปจะแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1.   กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Brand Ambassador)

สำหรับ Brand Ambassador ประเภทอินฟลูเอนเซอร์ คือกลุ่มบุคคลที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการของแบรนด์ โดยทั่วไป Brand Ambassador ประเภทนี้จะถูกเลือกจากยอดผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียและความมีชื่อเสียงในช่องทางออนไลน์ โดยหากแบรนด์เลือกใช้อินฟลูฯ ประเภทนี้ ก็จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง รวมถึงช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้

2.   กลุ่มลูกค้าที่สนับสนุนแบรนด์ (Customer Brand Ambassador)

Brand Ambassador กลุ่มนี้ มักเป็นลูกค้าที่ซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ กับแบรนด์เลย พวกเขามักจะช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการ เนื่องจากความชื่นชอบส่วนตัว อย่างไรก็ดี การใช้ Brand Ambassador ประเภทนี้เพื่อช่วยโปรโมตแบรนด์ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก เพราะนอกจากการบอกต่อแบบปากต่อปากจากพวกเขา จะช่วยดึงลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาได้แล้ว พวกเขายังรีวิวสินค้าหรือบริการในเชิงบวกด้วยความเต็มใจ ทำให้แบรนด์ไม่ต้องเสียงบประมาณไปกับการจ้าง Brand Ambassador ราคาแพงอีกด้วย

3.   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Brand Ambassador)

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงลึก ก็เป็น Brand Ambassador อีกประเภทที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน เพาะหากแบรนด์เลือกใช้กลุ่มนี้ช่วยโปรโมตสินค้า ก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งเพิ่มชื่อเสียงในด้านของการการันตีจากผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย พร้อมกันนั้น หากเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอุตสาหกรรมเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ติดตามของผู้เชี่ยวชาญคนนั้น ๆ ได้ดีมากขึ้นด้วย

4.   กลุ่มบุคคลสาธารณะ (Celebrity Brand Ambassador)

กลุ่มบุคคลสาธารณะ ถือเป็นกลุ่ม Brand Ambassador ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมากมักจะเป็นนักแสดง นักดนตรี นักกีฬา หรือคนดังที่รู้จักกันดี รวมถึงมีภาพลักษณ์ที่ดีน่าเชื่อถือ และมีผู้ติดตามจำนวนมาก โดย Brand Ambassador ประเภทนี้มักถูกแบรนด์เลือกใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการเข้าถึงผู้ชมวงกว้าง โดยแบรนด์อาจต้องมีงบประมาณการตลาดสำหรับจ้าง Brand Ambassador กลุ่มนี้โดยเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการทำสัญญาตามช่วงเวลาของแคมเปญที่กำหนด

5.   กลุ่มพนักงานของแบรนด์เอง (Employee Brand Ambassador)

ประเภท Brand Ambassador ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ก็คือกลุ่มพนักงานของแบรนด์เองเนื่องจากพนักงานหรือแม้แต่ CEO นั้นเป็นหน้าตาของแบรนด์และถือเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์มากที่สุด ทำให้เราอาจได้เห็นการที่ CEO ของแบรนด์นั้น ๆ ลงมาโปรโมตแบรนด์ด้วยตนเอง หรือแม้แต่สร้างภาพจำแบรนด์เป็นภาพของหน้าตนเองไปเลย ตัวอย่างชัด ๆ ก็เช่น คุณท๊อป จิรายุส CEO แห่งบริษัท BitKub ที่หน้าของเขาเปรียบเสมือนภาพลักษณ์ของ BitKub ไปแล้วในตอนนี้

 

Brand Ambassador ช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร? 

การใช้กลยุทธ์ Brand Ambassador มีข้อดีมากมาย ในที่นี้เราเลยขอรวบรวมประโยชน์ของการเลือกใช้กลยุทธ์นี้ที่อาจส่งผลดีต่อการเติบโตธุรกิจมาฝาก ดังนี้

1.   เพิ่มการเป็นที่จดจำ (Brand Awareness) ใหมากขึ้น

ถือเป็นประโยชน์หลัก ๆ ของการใช้กลยุทธ์ Brand Ambassador เลยก็ว่าได้ โดยการมี Brand Ambassador มาช่วยโปรโมตแบนด์ จะทำให้มั่นใจว่าแบรนด์จะสามารถเข้าถึงผู้คนในวงกว้างได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เกิดการเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ จนทำให้เกิดการบอกต่อไปยังลูกค้าที่อาจไม่เคยรู้จักแบรนด์มาก่อน จนเพิ่มโอกาสการปิดการขายและกำไรได้ในอนาคต

2.   เพิ่มความภักดี (Brand Loyalty) ในกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น

นอกจากเพิ่มการเป็นที่จดจำให้กับแบรนด์แล้ว การใช้กลยุทธ์ Brand Ambassador ช่วยโปรโมตยังทำให้ลูกค้ามี Brand Loyalty เพิ่มขึ้นด้วย เพราะเมื่อลูกค้าเห็นว่าคนที่พวกเขาไว้วางใจออกมารีวิวสินค้าของแบรนด์ในเชิงบวก ก็จะรู้สึกประทับใจแบรนด์ และอยากเป็นลูกค้าแบรนด์ในระยะยาวมากขึ้น

3.   โอกาสของการเพิ่มยอดขาย

เมื่อแบรนด์เป็นที่จดจำและลูกค้าอยากอุดหนุนในระยะยาว สิ่งที่ตามมาอย่างแน่นอนก็คือยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยหน้าที่ของ Brand Ambassador ก็คือการสร้างให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมถึงสร้างความตื่นเต้นในกลุ่มลูกค้าด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการขายสินค้า จนนำไปสู่การบอกต่อ และเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ธุรกิจ ดังนั้น การเลือกใช้ Brand Ambassador จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการกระตุ้นให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดโอกาสการปิดการขายที่ดีขึ้น

4.   วางแผนงบประมาณได้

การตลาดแบบดั้งเดิม ที่เน้นการโฆษณาทางทีวีหรือหนังสือพิมพ์นั้นเป็นรูปแบบการตลาดที่ต้องใช้งบการตลาดจำนวนมาก แต่การใช้กลยุทธ์ Brand Ambassador ไม่จำเป็นต้องใช้งบขนาดนั้น เพราะแบรนด์อาจตอบแทนเหล่า Brand Ambassador ตามที่ตกลงกันอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการมอบผลิตภัณฑ์ฟรี หรือแม้แต่ค่าคอมมิชชันจากการขาย ดังนั้น หากแบรนด์ไหนต้องการวางแผนงบประมาณให้เป็นไปตามที่กำหนด การเลือกใช้ Brand Ambassador ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะอย่างมาก

 

Brand Ambassador VS Presenter ต่างกันอย่างไร? 

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า แล้ว Brand Ambassador นั้นแตกต่างจาก Presenter อย่างไร?

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า Brand Ambassador นั้นแปลตรงตัวได้ความหมายว่าทูต จึงมีความหมายถึงการเป็นตัวแทนของแบรนด์ที่มากกว่าการเป็นผู้นำการโปรโมตหรือโฆษณาตามสคริปต์ โดย Brand Ambassador จะเน้นการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับลูกค้าและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ โดยการแบ่งปันประสบการณ์ของตนเอง รวมไปถึงการสร้างเนื้อหา การโต้ตอบกับผู้ชมบนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น

ในขณะที่ Presenter นั้นแตกต่างออกไป เพราะมีขอบเขตหน้าที่ที่จำกัดกว่า คือเน้นการนำเสนอคอนเทนต์ให้รู้ว่าแบรนด์ขายอะไร มีจุดเด่น และคุณลักษณะใดที่ต่างจากคู่แข่ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ก็ได้ 

ดังนั้น Brand Ambassador จึงเป็นลักษณะของผู้เป็นภาพแทนแบรนด์ที่โดดเด่นกว่าและสามารถนำเสนอจุดยืนได้ชัดเจนมากกว่า

โดยข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งของ Brand Ambassador VS Presenter ก็คือความสัมพันธ์ของพวกเขากับแบรนด์ กล่าวคือ Brand Ambassador จะมีความสัมพันธ์ระยะยาว ทำงานกับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกัน Presenter อาจมีเพียงความสัมพันธ์ระยะสั้นและรับโปรโมตให้แบรนด์เฉพาะแค่บางงาน เช่น งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ หรืองานโฆษณาบางครั้งเท่านั้น

brand ambassador vs presenter

สรุป

แต่ไม่ว่าจะเป็น Brand Ambassador หรือ Presenter หากเลือกจ้างได้ถูกประเภทและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของแบรนด์แล้ว ก็นับว่าเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจทั้งนั้น

แต่ทุกวันนี้ Brand Ambassador ก็มีให้เลือกมากมายเต็มไปหมด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเหมาะกับธุรกิจของเรามากที่สุด หากผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมีคำถามนี้ในหัว แต่ไม่รู้จะหาคำตอบอย่างไร ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถปรึกษา Primal Digital Agency บริษัทรับทำ SEO ของเราได้เลย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลพร้อมให้คำปรึกษากว่า 150 คน ถ้าพร้อมแล้วก็กรอกแผนการตลาด เพื่อปรึกษาเราได้ฟรีตอนนี้!