เลือกโซเชียลมีเดียอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย

ต้องบอกว่าธุรกิจในปัจจุบัน การที่เราจะนำสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ไปเสิร์ฟให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หนึ่งในช่องทางสำคัญในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่ได้ผลมากที่สุด นั่นก็คือ การใช้ โซเชียลมีเดีย ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเดี๋ยวนี้ โซเชียลมีเดียก็มีมากมายหลากหลายแพลตฟอร์มให้เลือกใช้ แล้วแพลตฟอร์มไหนล่ะที่เหมาะกับธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของเรามากที่สุด

การใช้โซเชียลโปรโมตธุรกิจ

โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มต่างกันอย่างไร

โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ฟีเจอร์และเครื่องมือที่แพลตฟอร์มมีให้ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

1. Facebook

แพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก สามารถโพสต์คอนเทนต์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ 

Facebook มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ เช่น การสร้างแฟนเพจ การสร้างกลุ่มสำหรับพูดคุยในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง (Facebook Group) การสร้างวิดีโอสั้นความยาวไม่เกิน 90 วินาที (Reels) และ Facebook Marketplace ที่เราสามารถโพสต์สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้ เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางออนไลน์ 

2. TikTok

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มาแรงมาก เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ ได้แก่ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอแนวตั้งที่เหมาะสำหรับการสร้างความบันเทิง คลิปตลก รวมถึงการแสดงความสามารถ อาทิ คลิปเต้น ร้องเพลง การแสดง ทำอาหาร และรีวิวต่าง ๆ โดยผู้ใช้สามารถแก้ไขคลิป หรือเพิ่มเอฟเฟกต์สนุก ๆ ได้ด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ TikTok ยังมีฟีเจอร์สำหรับขายสินค้าอย่าง TikTok Shop ที่ให้เจ้าของแบรนด์สามารถนำสินค้ามาขายได้ผ่านวิดีโอที่อยู่ในฟีด การไลฟ์สตรีม รวมถึงหน้าขายสินค้าอีกด้วย

3. YouTube

แพลตฟอร์มที่เน้นการนำเสนอวิดีโอ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการสร้างเนื้อหาวิดีโอเพื่อการศึกษา การตลาด หรือความบันเทิง และปัจจุบัน YouTube มีฟีเจอร์ YouTube Shorts เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอสั้นความยาวไม่เกิน 60 วินาที

4. Instagram

เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่เน้นการนำเสนอรูปภาพ คลิปวิดีโอ รวมถึง Story เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบภาพนิ่ง วิดีโอ รวมถึง วิดีโอสั้นความยาวไม่เกิน 90 วินาที (Reels) ที่สามารถลิงก์ไปหา Facebook ได้

ไม่เพียงเท่านี้ Instagram ยังมีฟีเจอร์สำหรับขายของที่ชื่อว่า Instagram Shopping เพื่อบอกเล่าสินค้าผ่านภาพนิ่งและคลิปวิดีโอ รวมถึงเชื่อมโยงไปยังหน้าขายสินค้าอีกด้วย

5. X (Twitter)

แพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่เน้นการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสาร เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการจำกัดข้อความไม่เกิน 280 ตัวอักษร และคลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 2.20 นาที

ยิ่งไปกว่านั้น แพลตฟอร์ม X ยังนำเสนอในรูปแบบ Premium ด้วยจุดขายตรงที่จะมีเครื่องหมายถูกสีฟ้าอยู่ข้างหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับแบรนด์ ธุรกิจ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในแง่ของการยืนยันและความเชื่อมั่นว่าบัญชีนี้คือผู้ใช้งานอย่างเป็นทางการ รวมถึงทำให้เกิด Impressions ที่เยอะขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น 

6. LinkedIn

แพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่เน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) หรือสำหรับใช้สมัครงาน เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ

จะเห็นว่า โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของการใช้งาน ฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มเป้าหมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้โซเชียลมีเดียเพื่ออะไร และต้องการจะสื่อสารกับใคร ดังนั้นเราอาจจะต้องพิจารณาว่า โซเชียลมีเดียที่เราจะใช้ มีผู้ใช้ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ รวมถึงมีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือเปล่า 

โปรโมตแบรนด์ ใช้โซเชียลมีเดียอันไหนดี

ปัจจัยในการเลือกโซเชียลมีเดียมีอะไรบ้าง

อย่างที่กล่าวไปว่า โซเชียลมีเดียในปัจจุบันมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนธุรกิจ แต่ก็ไม่ใช่ทุกโซเชียลมีเดียจะเหมาะกับธุรกิจของเรา และนี่คือปัจจัยในการเลือกโซเชียลมีเดียที่ไม่ควรมองข้าม

เลือกโซเชียลมีเดียโดยอ้างอิงจากกลุ่มเป้าหมาย

โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรทำความเข้าใจคือ กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ ความสนใจ พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย เป็นต้น เพื่อเลือกแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานอยู่

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหารที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายอายุ 20-30 ปี ซึ่งชื่นชอบการถ่ายภาพและวิดีโอ อาจจะเหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ อย่าง Instagram และ TikTok ในขณะที่ธุรกิจบริการที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-50 ปี ซึ่งสนใจเรื่องการเงินและการลงทุน อาจจะเหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ อย่าง LinkedIn และ YouTube

เลือกโซเชียลมีเดียโดยอ้างอิงจากเป้าหมายทางการตลาด

ในฐานะเจ้าของธุรกิจ เราย่อมรู้ดีกว่าใครว่าเป้าหมายทางการตลาดคืออะไร เพื่อขยายฐานลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย หรือเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเลือกแพลตฟอร์มโซเชียลที่เหมาะสมกับเป้าหมายนั้นได้ดียิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีกที่มุ่งหวังเพิ่มยอดขายอาจจะเหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ อย่าง Facebook และ X (Twitter) ที่เน้นการนำเสนอโปรโมชันและสินค้าใหม่ ในขณะที่ธุรกิจบริการที่มุ่งหวังสร้างการรับรู้แบรนด์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายใหม่อาจจะเหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ อย่าง Instagram และ TikTok ที่เน้นการนำเสนอภาพและวิดีโอ

เลือกโซเชียลมีเดียโดยอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ

เพราะธุรกิจแต่ละประเภทเหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ธุรกิจ B2C เหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่เน้นการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง เช่น Facebook, Instagram, TikTok ส่วนธุรกิจ B2B เหมาะกับแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่เน้นการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มธุรกิจ เช่น LinkedIn เป็นต้น

นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ธุรกิจควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ฟีเจอร์และเครื่องมือที่โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มมีให้ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเลือกแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับธุรกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

การใช้โซเชียลมีเดียที่ไม่ถูกต้อง มีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

จากปัจจัยในการเลือกโซเชียลมีเดียที่กล่าวมา คงเป็นตัวช่วยที่ทำให้พิจารณาได้ว่าควรเลือกแพลตฟอร์มใดให้เหมาะกับธุรกิจที่มี แต่อย่างไรก็ตาม การโพสต์เนื้อหาต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดียก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง แน่นอนว่าอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ และนี่คือข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

การใช้โซเชียลมีเดียในการโพสต์ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

เนื่องจากแต่ละแบรนด์มีกลุ่มเป้าหมายต่างกัน เพื่อป้องกันการเสียภาพลักษณ์ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการโพสต์เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น การถ่ายภาพคู่กับแอลกอฮอล์ อาวุธต้องห้าม ฯลฯ เพื่อป้องกันการถูกแบนบัญชีผู้ใช้ เนื่องจากเป็นข้อกำหนดของแต่ละแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

การใช้โซเชียลมีเดียในการขายสินค้าหรือบริการโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

อาทิ การขายสินค้าผิดกฎหมาย การไม่แสดงข้อมูลผู้ขาย หรือการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม นี่เป็นข้อที่ควรระวัง เพราะนอกจากจะถูกแบนบัญชีผู้ใช้ อาจถูกดำเนินคดีได้

การใช้โซเชียลมีเดียที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบในวงกว้างอีกด้วย เพราะฉะนั้น การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและปฏิบัติตามกฎหมาย ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

และนี่คือเรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับการเลือกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียให้เหมาะสมกับธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของเรา ซึ่งนอกจากจะต้องเลือกให้เหมาะสมแล้ว ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการทำคอนเทนต์ รวมถึงกลยุทธ์การตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

บริการ Social Media Management เป็นบริการที่จะช่วยดูแลจัดการโซเชียลมีเดียของธุรกิจหรือองค์กรในทุกแพลตฟอร์ม ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างเนื้อหา การเผยแพร่เนื้อหา ไปจนถึงการวัดผล วิเคราะห์ช่องทางโปรโมตที่เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งของแต่ละคอนเทนต์ ให้มีเนื้อหาที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ สำหรับใช้ในแต่ละแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าของแบรนด์ เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ บริการ Social Media Management จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรบริหารจัดการโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ