ความยาก Keyword วัดจากอะไร มีวิธีจัดลำดับความสำคัญอย่างไร

อย่างที่รู้กันว่า หัวใจสำคัญของการทำ SEO ก็คือ “Keyword” (คีย์เวิร์ด) ที่เราจะนำมาใช้เขียนคอนเทนต์หรือบทความ ให้บอตของ Google ที่เข้ามาตรวจสอบเว็บไซต์รู้ว่าเนื้อหาของเราเกี่ยวกับอะไร แล้วนำไปจัดอันดับบนหน้าแรกของผลการค้นหา เพื่อที่เวลาผู้ใช้งานเซิร์ช Keyword นั้น ๆ ก็จะได้เจอกับเว็บไซต์ของเราเป็นอันดับต้น ๆ ดังนั้น ขั้นตอนแรกของการทำ SEO จึงเป็นการทำ “Keyword Research” หรือก็คือการค้นหาและวิเคราะห์ว่าเราจะใช้ Keyword ใดให้มีโอกาสแรงก์ได้มากที่สุดนั่นเอง

อ่านเกี่ยวกับ Keyword เพิ่มเติมได้ที่ : Keyword คืออะไร พร้อมแนะนำเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดใช้งานฟรี !

หลายคนคงเคยเกิดคำถามว่า “อ้าว ! ไม่ใช่ว่าอยากใช้ Keyword ไหนก็ใช้ได้เหรอ” บอกเลยว่านั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะ Keyword แต่ละคำจะมีความยาก-ง่ายในตัวของมันอยู่ ซึ่งถ้าเราใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วย เราก็จะรู้ว่าคำไหนยาก คำไหนง่าย แต่คำถามคือ ความยากของ Keyword วัดจากอะไรล่ะ

บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจ ว่าความยาก-ง่ายของ Keyword นั้นวัดจากอะไร รวมถึงวิธีเลือก Keyword ที่ดี เพื่อที่ทุกคนจะได้สามารถจัดลำดับความสำคัญของคำ ให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น !

Keyword คืออะไร สำคัญอย่างไร

ความยากของ Keyword วัดจากอะไร

ความยากของ Keyword อาจมีตัวชี้วัด (Metrics) ที่หลากหลายกันไปตามเครื่องมือที่ใช้งาน แต่โดยทั่วไปแล้ว ความยากมักหมายความถึง “ความสามารถในการแข่งขัน” ของคำนั้น ๆ กล่าวคือ เมื่อเราเลือกใช้ Keyword ที่มียอดการค้นหาสูง การแข่งขันก็จะสูงตามไปด้วย ในทางกลับกัน หากเลือกใช้คำที่มียอดการค้นหาต่ำ การแข่งขันก็จะน้อย

อย่างไรก็ตาม คนทำ SEO ส่วนมากก็ไม่ค่อยชอบใช้คำที่มียอดการค้นหาต่ำเกินไปอยู่ดี เพราะถึงแม้จะจริงอยู่ที่การแข่งขันน้อย แต่นั่นก็หมายความว่าโอกาสที่ผู้ใช้งานจะใช้ Keyword นั้นในการค้นหาเราจะน้อยตามลงไปด้วย ในขณะที่ Keyword ที่มียอดการค้นหาสูง จะทำให้โอกาสที่ผู้ใช้งานเลือก Keyword ดังกล่าวในการค้นหาเราสูงตาม แต่ต้องแลกมากับการแข่งขันกับอีกหลายธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมบางธุรกิจจึงต้องจ้างบริษัทรับทำ SEO เพื่อให้แบรนด์ของตนเองได้อยู่บนหน้าแรกของผลการค้นหา

นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของตัวชี้วัดจากแต่ละเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Keyword Research โดยเราได้ยก Moz และ Google Keyword Planner ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นักการตลาดนิยมใช้มาอธิบาย ดังนี้

ตัวชี้วัดความยาก Keyword ของ Moz

บริษัทแรก ๆ ที่ใช้คำว่า ความยากของ Keyword (Keyword Difficulty) คือ Moz ซึ่งมีเครื่องมือทำ Research Keyword เป็นของตัวเอง ชื่อว่า Keyword Explorer 

Moz ได้กำหนดค่าตั้งแต่ 1 ถึง 100 ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความยากในการจัดอันดับ โดย 1 คือง่ายที่สุด และ 100 คือยากที่สุด ทั้งยังระบุว่า ความยาก Keyword ของ Moz จะคำนึงถึงคะแนนความนิยมของหน้าเพจนั้น ๆ (Page Authority: PA) ความน่าเชื่อถือของโดเมน (Domain Authority: DA) และอัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น (Click Through Rate: CTR)

ดังนั้น ต่อให้เราจะใช้ Keyword ที่ดีขนาดไหน แต่ถ้าหน้าเพจยังเป็นที่นิยมสู้เว็บไซต์อื่นไม่ได้ หรือโดเมนยังไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอ รวมถึงอัตราการคลิกยังน้อย ก็มีโอกาสที่จะทำให้ตามหลังคู่แข่งที่ใช้ Keyword เดียวกันได้

ตัวชี้วัดความยากของ Google Keyword Planner

Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือทำ Keyword Research ที่คนทำ SEO ส่วนมากนิยมใช้ เพราะเป็นเครื่องมือที่มาจาก Google โดยตรง ซึ่งหมายความว่า Google จะเป็นผู้กำหนดค่าทุกอย่างที่ปรากฏอยู่บนเครื่องมือ โดยอิงจากข้อมูล Keyword ทั้งหมดที่อยู่บน Search Engine

หากใครเคยใช้ Google Keyword Planner มาก่อนแล้ว ก็คงจะเห็นตัวเลขที่มีทศนิยมสองตำแหน่งระหว่าง 0 ถึง 1 โดย 1 คืออันดับที่ยากที่สุด และ 0 คือง่ายที่สุด แต่เนื่องจากคนที่สามารถใช้เครื่องมือนี้ได้ จะต้องมีบัญชี Google Ads ก่อน ตัวชี้วัดของ Keyword Planner จึงเป็น Keyword ที่เป็น Pay Per Click (PPC) และ Cost Per Click (CPC)

อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ PPC คือ การลงโฆษณาบนหน้าผลการค้นหากับ Google Ads หรือก็คือการซื้อพื้นที่โฆษณาให้ตนเองได้อยู่บนอันดับแรก ๆ นั่นเอง โดยจะมีคำว่า “Ad” อยู่ข้างหน้าเว็บไซต์ของเราเพื่อให้ผู้ใช้งานทราบว่าเป็นโฆษณา และเราจะต้องจ่ายเงินให้แก่ทาง Google ทุกครั้งที่มีคนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ ส่วน CPC ก็คือต้นทุนต่อคลิก หรือจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายให้แก่ Google ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถกำหนดได้เอง ใครจ่ายให้มากกว่า คนนั้นก็จะได้อันดับที่สูงกว่า แต่ความลุ้นก็คือ เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเว็บไซต์อื่น ๆ จ่ายให้ Google เท่าไร Keyword Planner จึงมีมาตรวัดที่เป็นตัวเลขมาบอกกับเราอ้อม ๆ แทนว่าคำไหนยาก คำไหนง่าย โดยเลขที่เราเห็น จะเป็นค่า CPC โดยเฉลี่ยในหน่วยดอลลาร์

Keyword มีกี่ประเภท

วิธีเลือก Keyword ที่ดี

เมื่อเข้าใจแล้วว่าความยาก Keyword วัดจากอะไร คราวนี้เรามาดูวิธีเลือก Keyword ที่ดีกันบ้าง เพื่อให้การทำ SEO ของเรามีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสในการเห็นผลลัพธ์ได้มากกว่าเดิม โดยคีย์เวิร์ดที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ

สิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับแรก คือ คำที่ใช้จะต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจและเป้าหมายของเว็บไซต์ เช่น ชื่อ รุ่น ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ ปัญหาของลูกค้า ผลลัพธ์จากการใช้สินค้าและบริการ เป็นต้น ยิ่ง Keyword มีความเกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงไปยังธุรกิจของเรามากเท่าไร โอกาสที่จะเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้กลายเป็นลูกค้าได้ก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

เป็นคำที่มีคนใช้จริง มีปริมาณการค้นหาในระดับหนึ่ง

หลายคนอาจเข้าใจว่า Keyword ที่ดี คือ คำที่บอกชื่อและลักษณะสินค้าแบบตรง ๆ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น

ลองคิดดูว่า หากเราใช้ชื่อธุรกิจของเราเป็น Keyword ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใช้งานที่ไม่เคยรู้จักชื่อธุรกิจของเรามาก่อนจะใช้ชื่อเราในการค้นหา นั่นหมายความว่าพวกเขาก็จะไม่มีโอกาสเจอเราบนหน้าผลการค้นหาเลย เช่นเดียวกันกับการใช้คำที่เครื่องมือช่วยค้นหา Keyword ระบุว่ามีการแข่งขันต่ำ ซึ่งได้กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่า การที่มีคู่แข่งน้อย ก็ย่อมหมายความว่า Keyword นั้นไม่ค่อยมีคนเซิร์ช ดังนั้น หากมีคนเซิร์ชมาแล้วเจอเราก็โชคดีไป แต่โอกาสที่คนจะไปเซิร์ชคำอื่นแทนนั้นมีมากกว่า สรุปง่าย ๆ ก็คือ เราต้องหาให้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราใช้คำอะไรในการค้นหาสินค้าหรือบริการของเรา แล้วนำคำเหล่านั้นมาใช้เป็น Keyword

เป็นคำที่แข่งขันได้

Keyword ที่ดีจะต้องแข่งขันได้ กล่าวคือ เมื่อเราเลือก Keyword หนึ่ง ๆ ใส่ลงไปบนหน้าเว็บฯ เราจะสามารถทำให้เว็บไซต์ปรากฏบนหน้าแรกของ Google ได้ ยิ่งอันดับเหนือกว่าคู่แข่งเท่าไรยิ่งดี ซึ่งความแข่งขันได้หรือไม่ได้นี้ ตัวเลขบนเครื่องมือ Keyword Research จะบอกเราเอง โดยถ้าหากผลออกมาว่า Keyword นั้นยาก แปลว่าเว็บไซต์ของเราอาจยังแข็งแกร่งสู้เว็บไซต์อื่น ๆ ใน Keyword เดียวกันไม่ค่อยได้ (สามารถเช็กความแข็งแกร่งของเว็บไซต์ได้ที่ ahrefs.com) ต้องซื้อ Ads ให้ Keyword เพิ่มเพื่อทำอันดับ หรือต้องทำ Backlink เพื่อเพิ่มคะแนนให้เว็บไซต์ จึงจะสามารถไปแข่งขันกับเว็บไซต์ที่มีค่าพลังสูง ๆ ได้

เป็นคำประเภท High Commercial Intent

Keyword ประเภท High Commercial Intent เป็นคำที่เราควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะเป็น Keyword ที่จะช่วยเราเพิ่มยอดขายได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย ดังนี้

Buy Now Keyword 

Buy Now Keyword คือ คำที่ถูกใช้โดยกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ และต้องการสินค้าอย่างเร่งด่วน เช่น

  • “จองที่พัก เกาะช้าง” 
  • “จองโต๊ะ ร้านอาหาร xxx”
  • “โซฟา มือสอง พร้อมส่ง” เป็นต้น

Product Keyword

Product Keyword คือ คำที่ระบุยี่ห้อ รุ่น และลักษณะของสินค้าหรือบริการตรง ๆ แม้จะเป็นคำที่มีพลังน้อยกว่า Buy Now Keyword แต่ก็เป็น Keyword ประเภทที่ไม่ควรมองข้าม เพราะ Product Keyword มักถูกใช้ในกลุ่มคนที่มีใจเอนเอียงสู่สินค้าหรือบริการอยู่แล้ว เช่น

  • “บริษัทรับทำ SEO ในไทย ที่ไหนดี”
  • “รีวิว ฉีดวิตามินผิวที่ xxx”
  • “รองเท้าผ้าใบใส่วิ่ง ราคาถูก” เป็นต้น

 

สรุป ความยาก Keyword วัดจากอะไร

สรุปง่าย ๆ อีกครั้งว่า ความยากของ Keyword แม้จะมีมาตรวัดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเครื่องมือ แต่ความหมายที่มีร่วมกันก็คือ ความยาก-ง่ายในการจัดอันดับคำนั้น ๆ โดยเราสามารถดูได้ว่า Keyword ที่เราอยากจะใช้มียอดการค้นหาเท่าไร การแข่งขันกับเว็บไซต์อื่น ๆ สูงหรือไม่ ถ้าหากใช้ไปแล้วจะมีโอกาสติดอันดับบนหน้าแรกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่เรารู้ข้อมูลในส่วนนี้ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรทำคอนเทนต์ออกมาในรูปแบบใด เพื่อเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นหาเราเจอได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การปิดยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการหา Keyword หรือกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยเหลือเรื่องการทำ SEO ได้ Primal Digital Agency บริษัทรับทำ SEO อันดับหนึ่งของไทย ยินดีให้คำปรึกษาในทุก ๆ แง่มุมของการทำคอนเทนต์ให้ติดอันดับ ติดต่อเราได้เลยวันนี้