INP คืออะไร ? Metrics ใหม่ที่ช่วยยกระดับ User Experience

แชร์บทความนี้

หนึ่งในเครื่องมือที่ Google ได้นำมาใช้ในการวัดประสิทธิภาพและความเร็วในการตอบสนองเว็บไซต์ คือ Interaction to Next Paint (INP) เครื่องมือใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในชุดของ Core Web Vitals ซึ่งเริ่มใช้เมื่อเดือนมีนาคม 2024 โดยจะมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองของเว็บไซต์ต่อการโต้ตอบของผู้ใช้ เพื่อให้เว็บไซต์ไม่เพียงแค่โหลดเร็ว แต่ยังแสดงผลทันทีหลังจากที่ผู้ใช้ทำการคลิก มาดูกันว่า INP คืออะไร และจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพของเว็บไซต์คุณได้อย่างไร !

Interaction to Next Paint (INP) คือ ตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินความเร็วของเว็บไซต์

ยิ่ง Interaction to Next Paint (INP) น้อยเท่าไร ยิ่งหมายความว่าเว็บไซต์สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมากเท่านั้น

 

INP คืออะไร

INP หรือ Interaction to Next Paint คือ หนึ่งในตัวชี้วัดที่ Google ใช้เพื่อประเมินความเร็วและความลื่นไหลของเว็บไซต์ในการตอบสนองต่อการโต้ตอบ (Response) ของผู้ใช้ ซึ่งจะแตกต่างจากตัวชี้วัดเดิมที่โฟกัสเพียงแค่การโหลดหน้าเว็บฯ เพราะ INP นั้นช่วยวัดระยะเวลาตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ เช่น การคลิกปุ่มหรือกดแป้นพิมพ์ ไปจนถึงการแสดงผลครั้งถัดไป (Next Paint) บนหน้าจอ

INP จึงเป็นปัจจัยที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความลื่นไหลของประสบการณ์ผู้ใช้แบบองค์รวม ทั้งความเร็วในการโหลดหน้าแรก และทุกจังหวะที่เกิดการโต้ตอบในระหว่างการใช้งานเว็บไซต์ เพราะวัตถุประสงค์หลักของ INP คือ ช่วยให้นักพัฒนาเว็บไซต์ (Developer) สามารถปรับปรุงการตอบสนองขององค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บฯ เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

INP สำคัญต่อ Core Web Vitals อย่างไร

INP เป็นส่วนหนึ่งของ Core Web Vitals ซึ่งเป็นชุดตัวชี้วัดที่ Google กำหนดขึ้นเพื่อวัดคุณภาพของเว็บไซต์ในเชิงประสบการณ์ผู้ใช้โดยตรง และมีความแม่นยำกว่าตัวชี้วัดเดิม โดย Google แนะนำว่าเว็บไซต์ที่มีค่า INP ต่ำกว่า 200 มิลลิวินาที จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้ใช้ ในขณะที่ค่าระหว่าง 200-500 มิลลิวินาที หมายถึงควรปรับปรุงเว็บไซต์ และมากกว่า 500 มิลลิวินาทีขึ้นไป คือเว็บไซต์มีการตอบสนองที่แย่

INP ช่วยเรื่อง SEO ได้อย่างไร

ปัจจุบัน Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้เป็นหลักในการจัดอันดับ SEO ดังนั้น INP ที่ดีจะช่วยให้เว็บไซต์มีอันดับที่ดีขึ้นได้ รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

ลดอัตราการละทิ้งหน้าเว็บฯ (Bounce Rate)

หากเว็บไซต์มีการตอบสนองล่าช้า เช่น เมื่อผู้ใช้คลิกปุ่มแล้วต้องรอเป็นเวลานานก่อนที่หน้าจอจะมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งนี้อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกหงุดหงิดและออกจากเว็บไซต์ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ค่า Bounce Rate สูงขึ้น ในทางกลับกัน การมี INP ที่ต่ำจะช่วยให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองได้ไวขึ้น ลดความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะละทิ้งหน้าเว็บฯ กลางคัน

เพิ่มโอกาสในการสร้าง Conversion

เมื่อ Interaction to Next Paint ต่ำ การโต้ตอบก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้ผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่อ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า กรอกฟอร์ม หรือสมัครรับข้อมูล ล้วนส่งผลให้เกิด Conversion Rate ที่สูงขึ้น

Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่ใส่ใจประสบการณ์ของผู้ใช้งาน

อัลกอริทึมของ Google จะพิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์ผ่าน Core Web Vitals ซึ่งมี INP เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ โดยการมี INP ที่ดีจะสะท้อนให้เห็นว่าเว็บไซต์ได้รับการปรับแต่งเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้ ส่งผลให้ Google มองว่าเว็บไซต์นั้นมีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ (User-friendly) และมีโอกาสได้รับอันดับที่ดีขึ้นในหน้าผลการค้นหา (SERP)

INP แตกต่างจาก Metrics อื่น ๆ ของ Core Web Vitals อย่างไร

นอกจาก INP แล้ว Core Web Vitals ยังมีอีก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ FID (First Input Delay), LCP (Largest Contentful Paint) และ CLS (Cumulative Layout Shift) ซึ่งแต่ละตัวมีความแตกต่างกันดังนี้

Metrics คำอธิบาย เป้าหมายที่ดี
INP (Interaction to Next Paint) วัดเวลาการตอบสนองของเว็บไซต์หลังจากผู้ใช้โต้ตอบ เช่น การคลิกปุ่ม น้อยกว่า 200 มิลลิวินาที
FID (First Input Delay) วัดระยะเวลาตอบสนองของหน้าเว็บฯ เมื่อผู้ใช้โต้ตอบครั้งแรก น้อยกว่า 100 มิลลิวินาที
LCP (Largest Contentful Paint) วัดเวลาที่องค์ประกอบหลักของหน้าเว็บฯ โหลดเสร็จ น้อยกว่า 2.5 วินาที
CLS (Cumulative Layout Shift) วัดความเสถียรของการจัดวางองค์ประกอบบนหน้าเว็บฯ น้อยกว่า 0.1
เว็บไซต์โหลดช้าเนื่องจาก Interaction to Next Paint (INP) สูงกว่า 200 มิลลิวินาที

หากเว็บไซต์โหลดช้า ควรมีการปรับปรุง Interaction to Next Paint (INP) โดยด่วน

 

เทคนิคปรับ INP ยังไงให้มีประสิทธิภาพ

ลดเวลาในการประมวลผลของ JavaScript

หลีกเลี่ยงการใส่โคดที่หนักเกินไป และใช้เทคนิค Lazy Loading เพื่อลดภาระของ Main Thread นอกจากนี้ แนะนำให้ใช้ Code Splitting เพื่อแยกโหลดไฟล์ตามความจำเป็น พร้อมตรวจสอบว่ามีการใช้ Web Workers เพื่อลดภาระของ UI Thread หรือไม่

ปรับปรุงการโหลดไฟล์ที่ไม่จำเป็น

ควรลดการโหลดไฟล์ CSS และ JavaScript ที่ไม่จำเป็น หรือใช้เทคนิค Tree Shaking เพื่อลบโคดที่ไม่ได้ใช้งานจากไฟล์ JavaScript

ใช้การโหลดล่วงหน้า (Preload) สำหรับทรัพยากรที่สำคัญ

ตั้งค่าเพื่อกำหนดให้เว็บไซต์สามารถโหลดฟอนต์ รูปภาพ และไฟล์สำคัญล่วงหน้าได้ เพื่อลดระยะเวลาในการรอโหลดข้อมูล โดยควรใช้ rel=preload และ rel=preconnect ให้เหมาะสม

ตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์

ใช้ CDN เพื่อกระจายโหลด ลดการเรียกใช้ทรัพยากรจากเซิร์ฟเวอร์หลัก และตั้งค่าการแคช (Caching) ให้เหมาะสม เช่น การใช้ Cache-Control และ ETag

ปรับปรุงการทำงานของ Event Callbacks

หลีกเลี่ยง Callback ที่ใช้เวลานาน และแบ่งงานเป็นช่วง ๆ โดยใช้ setTimeout() หรือ requestIdleCallback() เพื่อให้ Browser สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องประมวลผลได้อย่างเหมาะสม

หากไม่เจอ Metrics INP ควรทำอย่างไร

หากไม่พบค่า INP ในรายงานของเว็บไซต์ อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้

  • ไม่มีการโต้ตอบจากผู้ใช้ เนื่องจากหน้าเว็บฯ ไม่มีองค์ประกอบที่ต้องคลิก เช่น ปุ่มหรือฟอร์ม
  • ผู้ใช้ไม่ได้โต้ตอบกับหน้าเว็บฯ โดยข้อมูลอาจไม่ได้ถูกบันทึกหากไม่มีการคลิกหรือกดปุ่มใด ๆ

แนวทางแก้ไข

  • เพิ่มองค์ประกอบที่กระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบ เช่น ปุ่ม CTA หรือแบบฟอร์มกรอกข้อมูล
  • ตรวจสอบการตั้งค่า Analytics และ Core Web Vitals Report เพื่อให้แน่ใจว่ามีการบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง

หากคุณต้องการให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว การใช้ Core Web Vitals โดยเฉพาะ Interaction to Next Paint หรือ INP คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ไร้รอยต่อ และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในระยะยาว รวมถึงเพิ่มโอกาสให้คุณติดอันดับบนหน้าแรกของ Google มากขึ้น วางใจได้ในผลลัพธ์ หากคุณพาร์ตเนอร์กับ Primal เอเจนซีชั้นนำของไทย เรามีผู้เชี่ยวชาญกว่า 150 คนที่พร้อมผลักดันธุรกิจของคุณให้เป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรม กรอกฟอร์มเพื่อติดต่อเราได้เลยวันนี้

แชร์บทความนี้