Google Algorithm ฉบับอัปเดต ทำเว็บไซต์ให้ติดแรงก์ในปี 2023

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Search Engine ที่ผู้ใช้งานนิยมกันมากที่สุดก็คือ Google ด้วยจำนวนคนค้นหาข้อมูลที่มากกว่า 4,000 ล้านครั้งต่อวัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็คงไม่ต้องกล่าวถึงความสำคัญของ Google ให้มากมาย เนื่องจากทุกคนที่กำลังอ่านบทความนี้ก็น่าจะทราบและใช้งานเครื่องมือค้นหาตัวนี้กันเป็นประจำอยู่แล้ว

แต่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก Google ได้อย่างเต็มที่ เราจำเป็นต้องเข้าใจหลักการทำงานของ “Google Search Algorithm อันเกี่ยวกับวิธีการจัดอันดับและการแสดงผลการค้นหา หรือที่เรามักเรียกกันว่า Search Engine Optimization (SEO) เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ SEO ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม อัลกอริทึมของ Google นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าแทบจะมีการปรับกฎเกณฑ์ทุกปี ปีละหลายครั้งเลยก็ว่าได้ ดังนั้น บทความนี้จะมาอัปเดต Google Algorithm 2023 ให้คนทำ SEO ทุกท่านได้ทราบกันว่า ในปีนี้ เราสามารถทำให้เว็บไซต์ของเรามีคุณภาพในสายตา Search Engine ขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง 

แต่ก่อนอื่น สำหรับใครที่ยังอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Google Algorithm เพิ่มเติม เราไปรู้จักความหมายของสิ่งนี้กันก่อนดีกว่า!

ทำ SEO ให้ติดหน้าแรก Google

Google Algorithm คืออะไร?

ปัจจุบันมีเว็บไซต์บนโลกออนไลน์หลายพันล้านเว็บไซต์ จึงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่เราจะสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากทุกเว็บไซต์ที่มีอยู่ได้ ถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว เวลาเราค้นหาคีย์เวิร์ด (Keyword) แล้วเครื่องมือจะแสดงผลการค้นหาให้เราอย่างไรล่ะ? นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมี Google Algorithm!

Google Algorithm คือ ระบบเบื้องหลังของเครื่องมือค้นหาในการจัดอันดับเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่คนค้นหามากที่สุดขึ้นมาแสดง อาจกล่าวถึงกระบวนการทำงานง่าย ๆ ได้ว่าเป็นการ “ค้นหา – จัดอันดับ – แสดงผลลัพธ์ให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุดและเร็วที่สุด” นั่นเอง

ทั้งนี้ ดังที่ได้กล่าวไปว่า Google Algorithm จะมีการอัปเดตอยู่เสมอเพื่อพัฒนาผลการค้นหาให้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงต้องติดตามข่าวสารอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้รูปแบบของอัลกอริทึมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และเราควรทำอย่างไรเพื่อให้การทำ SEO ได้ผลดีที่สุด เนื่องจาก

  • การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของ Google Algorithm ส่งผลต่อการจัดอันดับแสดงผล กล่าวคือ อาจทำให้อันดับเว็บไซต์ของเราเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้
  • Google เปรียบเสมือนผู้คุมกฎ โดยหากเว็บไซต์ใดทำตามกฎก็จะได้ผลลัพธ์การจัดอันดับที่ดี ในขณะที่เว็บไซต์ที่ไม่ทำตามกฎก็จะไม่ได้รับการมองเห็น
  • การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน เพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทุกวัน หากเราหยุดนิ่งไปเพียงครู่เดียวก็อาจทำให้ช้ากว่าคนอื่นไปหลายก้าวได้

 

ปัจจัยการจัดอันดับของ Google Algorithm 2023

เมื่อพูดถึงคำว่า Google Algorithm ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำ SEO สิ่งแรกที่เรานึกถึงมักจะเป็นปัจจัยการจัดอันดับค้นหาของ Search Algorithm หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ เราต้องรู้ว่า Google ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าจะจัดอันดับเว็บไซต์ไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งหากพูดตามความเป็นจริงแล้ว Google ไม่เคยมีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าใช้ปัจจัยใดบ้าง แต่คนทำ SEO ก็เชื่อกันว่ามีปัจจัยการจัดอันดับมากกว่า 200 ปัจจัยเลยทีเดียว แม้จะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าปัจจัยทั้งหมดนั้นคืออะไรบ้างก็ตาม เนื่องจาก Google Algorithm เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

แต่ในบทความนี้ เราได้รวบรวมปัจจัยการจัดอันดับที่โดดเด่นที่สุดของ Google Algorithm 2023 ฉบับอัปเดตเอาไว้ให้แล้ว ดังนี้

ปัจจัยด้านโดเมน (Domain Factors)

  • อายุของโดเมน (Domain Age) – แม้คนทำ SEO ส่วนใหญ่จะมองว่าอายุของโดเมนมีผลต่อการจัดอันดับ แต่ทาง John Mueller เคยพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโดเมนเก่าหรือโดเมนใหม่ อายุโดเมนก็ไม่มีผลต่ออันดับของเว็บไซต์บนหน้าผลการค้นหา ทว่ายังส่งผลด้านบวกในเรื่องของ Backlink อยู่
  • การมีคีย์เวิร์ดปรากฏอยู่ในโดเมน (Keyword Appears in Top Level Domain) – ปัจจัยนี้อาจไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO โดยตรง แต่ก็ถือเป็นการส่งสัญญาณให้ทาง Google มองเห็นถึงความเกี่ยวข้อง ทั้งยังทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ดีขึ้นด้วยว่า เว็บไซต์ของเราเกี่ยวกับอะไร อันจะนำมาซึ่งอัตราการคลิกที่มากขึ้น
  • ระยะเวลาในการจดทะเบียนโดเมน (Domain registration length) – ในสิทธิบัตร Google ระบุว่า โดเมนที่ทำการจดทะเบียนและจ่ายเงินล่วงหน้า สามารถใช้เป็นปัจจัยในการประเมินความถูกต้องตามกฎได้
  • การใส่คีย์เวิร์ดไว้ในเว็บไซต์ที่แยกจากโดเมนหลัก (Keyword in Subdomain) – ทางผู้เชี่ยวชาญของ Moz ออกมายอมรับว่า การใส่คีย์เวิร์ดไว้ใน Subdomain นั้น ช่วยในเรื่องของการจัดอันดับได้จริง
  • ประวัติของโดเมน (Domain History) – ถ้าเป็นโดเมนที่เคยมีคนใช้มาก่อน และเคยมีปัญหากับ Google ในการทำลิงก์สแปม หรือมีแต่ลิงก์ที่ไม่ดี ก็จะส่งผลอย่างมากต่ออันดับ SEO
  • การใช้คีย์เวิร์ดหรือชื่อแบรนด์โดยตรงเป็นชื่อโดเมน (Exact Match Domain) – ปัจจัยนี้อาจมีประโยชน์ต่อ SEO เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย
  • ประเทศที่อยู่ของโดเมน (Country TLD extension) – เว็บไซต์ที่มี Country Code Top Level Domain (เช่น .th, .cn, .pt, .ca ฯลฯ) จะมีโอกาสได้อันดับที่ดีขึ้นในเฉพาะประเทศนั้น ๆ และมีข้อจำกัดในกรณีที่ต้องการทำอันดับในประเทศอื่น ๆ

ปัจจัยด้านหน้าเพจ (Page-Level Factors)

  • การใส่คีย์เวิร์ดใน Title Tag (Keyword in Title Tag) – เป็นที่รู้กันในหมู่คนทำ SEO ว่า การใส่คีย์เวิร์ดใน Title Tag นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปี 2023 กลับต่างออกไป เพราะคีย์เวิร์ดใน Title Tag อาจไม่ได้จำเป็นเท่าเมื่อก่อนแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงส่งผลดีต่อการทำ On-Page SEO เหมือนเดิม
  • การวางคีย์เวิร์ดไว้เป็นคำแรกของ Title Tag (Title Tag Starts with Keyword) – อ้างอิงจาก Moz ที่ระบุว่า การวางคีย์เวิร์ดไว้เป็นคำแรกของ Title Tag จะมีโอกาสทำอันดับได้ดีกว่าการเอาไว้ที่ส่วนท้าย
  • การใส่คีย์เวิร์ดไว้ใน Description Tag (Keyword in Description Tag) – Google ยังคงไม่ได้ใช้เรื่องนี้เป็นปัจจัยในการจัดอันดับ แต่การใส่คีย์เวิร์ดลงในไป Description Tag ด้วย จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บไซต์มากขึ้น และอาจส่งผลต่ออัตราการคลิกที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของ SEO
  • การใส่คีย์เวิร์ดไว้ใน H1 (Keyword Appears in H1 Tag) – การใส่คีย์เวิร์ดไว้ใน H1 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Second Title Tag” จะช่วยส่งสัญญาณด้านบวกให้ Google ได้รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าเพจนั้นกับคีย์เวิร์ดที่ใช้
  • TF-IDF – เป็นเทคนิคการคัดแยกคำตามความสำคัญ โดยการให้น้ำหนักคำในแต่ละคำ ซึ่ง Google ได้นำเทคนิคที่แม่นยำและซับซ้อนมาใช้ในการค้นหาว่ามีคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ปรากฏอยู่ในบทความมากแค่ไหน หากพบคำนั้นได้บ่อย ก็จะทำให้ Google มองเห็นถึงความสัมพันธ์ของเพจและคีย์เวิร์ดดังกล่าวได้
  • ความยาวของคอนเทนต์ (Content-Length) – ปัจจัยนี้มีผลโดยตรงต่อการจัดอันดับ SEO เพราะเนื้อหาที่มีความยาวมากกว่า ย่อมอธิบายรายละเอียดได้ดีกว่าเนื้อหาสั้น ๆ โดยมีผลการศึกษาออกมาว่า ผลการค้นหาในหน้าแรกของ Google จะเป็นบทความที่มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1,400 คำ
  • การทำสารบัญ (Table of Contents) – ช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ รู้ว่าเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร พูดถึงอะไรบ้าง
  • Latent Semantic Indexing Keywords in Content (LSI) – คือ การทำ LSI Keyword ด้วยคำหรือวลีที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดหลัก (Main Keywords) เช่น หากทำคอนเทนต์เรื่อง การวิ่งออกกำลังกาย LSI Keyword อาจเป็นรองเท้าวิ่ง ความเร็ว ระยะทาง ฯลฯ ซึ่งการมี LSI จะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเนื้อหานั้น ๆ และช่วยให้ Google สามารถบอกความหมายที่แท้จริงของคีย์เวิร์ดได้อีกด้วย
  • การมี LSI Keyword ในชื่อหรือคำอธิบาย (LSI Keywords in Title and Description) – ปัจจัยนี้จะช่วยให้ Google มองเห็นความหมายของคำที่มีหลายความหมาย และช่วยให้อันดับดีขึ้น
  • ความเร็วในการโหลดหน้าเพจ (Page Speed) – ทั้ง Google และ Bing ใช้เรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ โดย Google จะใช้ข้อมูลจริงของผู้ใช้งานผ่าน Chrome เพื่อประเมินความเร็วในการโหลดด้วย
  • การทำเนื้อหาซ้ำ (Duplicate Content) – การคัดลอกหรือทำเนื้อหาซ้ำซ้อนบนเว็บไซต์เดียวกัน แม้ว่าจะมีการแก้ไขไปเล็กน้อย แต่ Google ก็ยังมองว่าเป็นผลเสีย และอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและการจัดอันดับเว็บไซต์นั้น ๆ
  • Rel = Canonical – เป็นวิธีการบอก Search Engine ให้รู้ว่า URL ที่อยู่ภายใต้แทกนี้คือหน้าหลักของเว็บไซต์ ซึ่งหากใช้งานอย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันการแบนจาก Google ในเรื่องของการมีเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน และป้องกันการ index ข้อมูบเว็บไซต์ผิดหน้าได้เป็นอย่างดี
  • การปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพบนเว็บไซต์ (Image Optimization) – ด้วยการตั้งชื่อไฟล์, Alt Text, Title, Description และแค็ปชันของรูปภาพ ให้ Google รู้ว่ารูปนี้เกี่ยวข้องกับเพจอย่างไร อีกทั้งรูปเหล่านี้ยังมีโอกาสถูกจัดอันดับใน Search Image อีกด้วย
  • การทำเนื้อหาที่อัปเดต สดใหม่ และทันสมัย (Content Recency) – โดยเฉพาะการค้นหาที่เป็น Time-Sensitive หลังจากที่ Google ได้ทำการอัปเดต Google Caffeine ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น พร้อมทั้งมีการแสดงวันที่ที่หน้าเพจนั้น ๆ ได้ทำการเผยแพร่เอาไว้ด้วย
  • ประวัติการอัปเดตหน้าเพจ (Historical Page Updates) – ยิ่งเราอัปเดตเนื้อหาบ่อยมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เนื้อหามีความสดใหม่สำหรับ Google มากขึ้นเท่านั้น
  • การให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ด (Keyword Prominence) – การวางคีย์เวิร์ดไว้ใน 100 คำแรกของบทความจะทำให้ Google รู้ได้ทันทีตั้งแต่แรกว่า หน้าเพจนี้กำลังพูดถึงเรื่องอะไร
  • การใส่คีย์เวิร์ดไว้ในหัวข้อย่อยอย่าง H2, H3 (Keyword in H2, H3 Tags) – ถือเป็นการส่งสัญญาณเล็ก ๆ ให้ Google มองเห็นและเข้าใจในโครงสร้างของหน้าเพจนั้น ๆ มากขึ้น
  • การทำ External Link ออกไปหาเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ (Outbound Link Quality) – เป็นการส่งสัญญาณบอก Google ถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างเพจของเราและเพจที่ส่ง External Link ออกไป แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อการจัดอันดับได้
  • การสะกดคำและไวยากรณ์ (Grammar and Spelling) – การสะกดคำหรือใช้ไวยากรณ์ให้ถูกต้อง เป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของเว็บไซต์ได้อีกทางหนึ่ง
  • ความเป็นต้นฉบับของเนื้อหา (Original Content) – เนื้อหาที่เขียนต้องมีความเป็นต้นฉบับ เพราะหากคัดลอกมาก็อาจไม่ถูกจัดอันดับใด ๆ เลย
  • Mobile-Friendly Update – Google จะให้คะแนนกับเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต เป็นต้น
  • การซ่อนเนื้อหาบนมือถือ (Hidden Content on Mobile) – เนื้อหาที่ทำการซ่อนไว้บนมือถืออาจไม่ได้รับการประเมินจาก Google โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเนื้อหาสำคัญ จึงไม่ควรซ่อนเด็ดขาด
  • การมีเนื้อหาประเภทเสริม (Helpful Supplementary Content) – หรือเครื่องมือช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น เครื่องมือแปลงสกุลเงิน เครื่องมือคำนวณดอกเบี้ย ฯลฯ ซึ่งทาง Google Rater Guidelines Document ระบุว่า การมีเนื้อหาเหล่านี้จะทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพ และส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO ด้วย
  • Multimedia – เช่น การมีรูปภาพ วิดีโอ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นสิ่งที่ Google ชอบ และมองว่าเว็บไซต์นั้น ๆ ทำเนื้อหาที่มีคุณภาพ
  • จำนวน Internal Link – การทำ Internal Link ไปยังเพจใดเพจหนึ่งบนเว็บไซต์ เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสำคัญของหน้าเพจนั้น ๆ ซึ่งหากหน้าไหนมี Internal Link ชี้มามากกว่า ก็แปลว่าสำคัญมากกว่า
  • จำนวนลิงก์เสีย (Broken Link) – หากเว็บไซต์มีลิงก์เสีย (Broken Link) มากเกินไป จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ไม่ได้รับการดูแล ซึ่งจะส่งผลต่อการวัดผลคุณภาพเว็บไซต์
  • ความยาก-ง่ายของเนื้อหา (Reading Level) – Google จะมีการให้คะแนนระดับความยาก-ง่ายในการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์เอาไว้ด้วย
  • Affiliate Link – ปกติแล้ว การมี Affiliate Link บนเว็บไซต์ไม่ได้มีผลต่อการจัดอันดับโดยตรง แต่หากมีมากเกินไปก็อาจเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพของเว็บไซต์ได้ เพราะ Google จะมองว่าเราเป็นเว็บไซต์ที่ชอบโฆษณาอย่างเดียว
  • Domain Authority – หากทุกปัจจัยที่ใช้ตัดสินเท่ากันหมด เว็บไซต์ที่มี Domain Authority หรือมีความน่าเชื่อถือมากกว่าก็จะมีอันดับที่สูงกว่าเสมอ
  • ความยาวของ URL (URL Length) – URL ที่มีความยาวเกินไป อาจส่งผลให้ Search Engine หาไม่เจอ และจากกรณีศึกษา พบว่า URL แบบสั้นมีแนวโน้มจะทำอันดับได้ดีกว่าอีกด้วย
  • เส้นทางของ URL (URL Path) – หากเป็นหน้าเพจที่อยู่ใกล้กับหน้าหลัก จะมีโอกาสได้รับ Authority มากกว่าหน้าเพจที่อยู่ลึกเข้าไป
  • ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ (Human Editors) – Google ได้ออกสิทธิบัตรสำหรับระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานแก้ไขเนื้อหาได้ เช่น วิกิพีเดีย เป็นต้น
  • หมวดหมู่ของเพจ (Page Category) – หน้าเพจที่มีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนหนึ่งของ Page Category จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าหน้าที่ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด หรืออยู่ผิดหมวด
  • URL String – Google จะสามารถอ่านหมวดหมู่ย่อยที่แสดงใน URL String ได้ว่ามีอะไรบ้าง และเนื้อหาในหน้านั้น ๆ เกี่ยวข้องกับอะไร
  • การอ้างอิง (References and Sources) – แม้จะเคยมีประเด็นถกเถียงกันมาก่อนว่าการใส่ลิงก์อ้างอิงส่งผลต่อการจัดอันดับหรือไม่ แต่ Google ก็ออกมาบอกแล้วว่าไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
  • หัวข้อและลำดับตัวเลข (Bullets and Numbered List) – สัญลักษณ์อย่างตัวเลขและหัวข้อจะช่วยทำให้ผู้ใช้งานอ่านเนื้อหาได้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Google เองก็น่าจะเห็นด้วยและชอบการจัดเนื้อหาด้วยตัวเลขและหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
  • ลำดับความสำคัญของหน้าเพจใน Sitemapโดย Google จะรับรู้ลำดับความสำคัญของหน้าเพจผ่านไฟล์ sitemap.xml ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดอันดับด้วย
  • อายุของเพจ (Page Age) – แม้ Google จะชอบเนื้อหาสดใหม่ แต่การปรับปรุงหน้าเก่า ๆ อาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการสร้างหน้าใหม่ขึ้นมา
  • User-Friendly Layout – การมีหน้าเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานให้สามารถใช้งานได้ง่าย จะส่งผลต่อประสบการณ์ที่ผู้ใช้งานได้รับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับด้วย
  • เนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful Content) – Google ได้มีการแยกแยะระหว่าง “คุณภาพ” และ “ประโยชน์” ของเนื้อหาออกจากกัน

อัปเดต Google 2023

 ปัจจัยด้านเว็บไซต์ (Site-Level Factors)

  • เนื้อหาบนเว็บไซต์ต้องมีคุณค่า มีเอกลักษณ์และไม่ซ้ำใคร – Google ระบุว่า Google ยินดีที่จะทำโทษเว็บไซต์ที่ไม่ได้นำเสนออะไรใหม่ ๆ เลย
  • การสร้างหน้า Contact Us Page – ทาง Google ได้ระบุไว้ใน The Google Quality Document ว่า ทาง Google ชอบเว็บไซต์ที่มีข้อมูลสำหรับติดต่อที่เหมาะสม เพพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแก่เว็บไซต์มากขึ้น
  • Site Architecture – สำหรับเว็บไซต์ที่มี Site Architecture ที่ดีกว่า จะช่วยให้ Google สามารถจัดระเบียบเนื้อหาได้ง่ายกว่า
  • Site Uptime – การที่เว็บไซต์ของเราอยู่ในโหมด Site Maintenance หรือ Server มีปัยหา หรือมี Downtimes เป็นจำนวนมาก จะส่งผลเสียต่ออันดับเว็บไซต์ และอาจทำให้ยกเลิกการจัดอันดับไปเลย
  • ตำแหน่งที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ (Server Location) – ปัจจัยนี้จะสำคัญสำหรับการทำ Local SEO โดยต้องดูว่า เราต้องการให้เว็บไซต์ของตนเองทำได้ดีในพื้นที่ไหน
  • SSL Certificate – Google ยืนยันว่า การใช้ HTTPS เป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการจัดอันดับ โดยถ้าหากเว็บไซต์ที่แข่งขันกันนั้นมีทุกอย่างเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ HTTPS กับ HTTP การใช้ HTTPS จะทำอันดับได้ดีกว่า
  • E-A-T ย่อมาจาก Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness ของเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดย Google จะให้คะแนนและสร้างความได้เปรียบให้กับเว็บไซต์ที่มี E-A-T ในระดับสูง
  • เมนูที่ใช้นำทางในเว็บไซต์ (Breadcrumb Navigation) – เป็นเครื่องมือที่ใช้นำทางเว็บไซต์ ให้ผู้ใช้งานรู้ว่า ณ ตอนนี้อยู่ส่วนไหนของเว็บไซต์ และอยู่ลึกจากหน้าหลักมากแค่ไหนแล้ว จึงถือเป็นเครื่องมือที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน แล้วยังทำให้ Search Engine เข้าใจเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
  • ความง่ายในการใช้งานเว็บไซต์ (Site Usability) – เป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะถ้าหากเว็บไซต์ใช้งานยาก ก็จะลด Time on site ของผู้เข้าชมเว็บฯ และเพิ่มอัตราการตีกลับ ทำให้อันดับเว็บไซต์ลดลง
  • จำนวนรีวิวของผู้ใช้งานและชื่อเสียงของเว็บไซต์ (User reviews/Site reputation) – เว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เช่น yelp.com มีส่วนสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์
  • Core Web Vitalsเป็นมาตรฐานของประสิทธิภาพเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานกับหน้าเว็บไซต์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการให้คะแนน UX สำหรับเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับโดยตรง

ปัจจัยด้าน Backlink (Backlink Factors)

  • อายุโดเมนของ Backlink ที่ส่งกลับมา – โดยโดเมนที่มีอายุมาก จะมีพลังที่ส่งกลับมากับ Backlink มากกว่าเว็บไซต์ที่เป็นโดเมนใหม่
  • จำนวนของโดเมนที่ทำการ Backlink กลับมา – อย่างที่เราทราบกันดีว่า จำนวนโดเมนที่อ้างอิงกลับมายังเว็บไซต์ของเราเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับที่สำคัญที่สุดของ Google ยิ่งมีมากเท่าไร ยิ่งถือว่าเว็บไซต์มีคุณภาพมากเท่านั้น
  • จำนวนหน้าของเพจที่ทำการลิงก์มา – จำนวนรวมของเพจที่ทำ Backlink กลับมา แม้จะมาจากโดเมนเดียวกัน แต่ก็ส่งผลต่อการจัดอันดับได้
  • Backlink Anchor Text แม้จะมีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อก่อน แต่เว็บไซต์ที่มี Anchor Text มากก็ยังส่งผลดีกว่าเว็บไซต์ที่มี Anchor Text น้อยหรือไม่มีเลย
  • Authority ของเพจที่ทำการลิงก์มา – Authority หรือ PageRank ของเว็บไซต์ที่ทำการส่ง Backlink มา ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการจัดอันดับ SEO ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ลิงก์จากโดเมน .edu หรือ .gov – Matt Cutts ระบุว่า TLD (Top Level Domain) หรือโดเมนระดับบนสุด ไม่ได้บ่งบอกถึงความสำคัญของเว็บไซต์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าลิงก์ที่มาจาก .edu หรือ .gov มีความพิเศษบางอย่าง
  • Authority ของโดเมนที่ลิงก์มา – โดเมนที่อ้างอิงมามีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณค่าของเพจ
  • ความหลากหลายของประเภทลิงก์ (Diversity of Link Types) – การที่ Backlink มาจากเว็บไซต์เดียวกันมากเกินไป หรือได้มาโดยไม่ธรรมชาติ Google อาจมองว่าเป็นสแปม ดังนั้น Backlink ที่ได้กลับมา ควรเป็นลิงก์ที่มาจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อความเป็นธรรมชาติ
  • ลิงก์ในเนื้อหา (Contextual Links) – ลิงก์ที่ทำอยู่ในเนื้อหา มักจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นลิงก์ที่ดีและมีคุณภาพมากกว่าลิงก์ที่อยู่ในหน้าว่าง ๆ หรือส่วนอื่น ๆ ของเพจ
  • ลิงก์ที่มาจาก 301 Redirect การได้ Backlink จากการเปลี่ยนเส้นทางจาก 301 Redirect จะทำให้คุณค่าของเพจลดลง
  • อายุของ Backlink – จากสิทธิบัตรของ Google ระบุว่า Backlink ที่มีอายุมาก จะมีพลังมากกว่าลิงก์ที่สร้างขึ้นใหม่

 

สรุป

จะเห็นได้ว่า การทำ SEO นั้นจำเป็นที่จะต้องตาม Google Algorithm ให้ทันอยู่เสมอ เนื่องจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลกระทบค่อนข้างมากในการจัดอันดับเว็บไซต์ และในทุก ๆ ครั้ง Google เองก็ไม่ได้ให้คำแนะนำอะไรไปมากกว่าการบอกให้คนทำเว็บไซต์ทุกคนโฟกัสที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้อ่านรับประโยชน์จากสิ่งที่ค้นหามากที่สุด เมื่อนั้นเว็บไซต์เราก็จะสามารถขึ้นไปอยู่บนอันดับแรก ๆ บนหน้าผลการค้นหาของ Google ได้ไม่ยาก

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ได้รับผลกระทบจากการอัปเดต Google Algorithm 2023 แล้วรู้สึกว่าตามไม่ค่อยทัน หากจะต้องเอาเวลามาทุ่มเทกับการพัฒนาและอัปเดตเว็บไซต์อย่างเดียว ก็จะทำให้ไม่มีเวลาไปสนใจส่วนอื่น ๆ ของธุรกิจให้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น แนะนำว่าให้ร่วมมือกับเอเจนซีชั้นนำที่รับทำ SEO เพื่อช่วยลดเวลา และเสริมสร้างประสิทธิภาพให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจของคุณดียิ่งขึ้น โดย Primal Digital Agency ของเรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกด้านเกี่ยวกับการตลาดเท่าที่คุณต้องการ !