เผยวิธีปรับธุรกิจให้อยู่รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ในปี 2023

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงการใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตลอดกาล นักการตลาดจึงต้องปรับตัวตามอย่างรวดเร็วเพื่อคิดค้นแผนการตลาดใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนทั้งโลกด้วย ซึ่งกลยุทธ์ในการปรับตัวถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจที่ต้องการจะอยู่รอดและเติบโตต่อไปในวงการการตลาด

ทั้งนี้ เมื่อยุค “New Normal” กำลังจะหมดไป สิ่งที่กำลังจะมาแทนที่ก็คือยุค “Next Normal” ซึ่งหมายความว่าหลายสิ่งหลายอย่างกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ดังนั้น หากใครกำลังคิดว่าจะทำอย่างไรให้แบรนด์ของตนเองมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง บทความนี้ได้รวบรวมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจาก Primal Digital Agency มาช่วยชี้แนวทางให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า เราควรจะรับมือและวางกลยุทธ์อย่างไรให้ธุรกิจมีความพร้อมสำหรับ “Next Normal” ที่กำลังจะมาถึง

ทำธุรกิจในปี 2023

คุณต่าย Content Manager

“ถึงแม้ว่าการทำให้ธุรกิจออนไลน์เติบโตจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนักไว้เสมอคือ เมื่อไรก็ตามที่พูดถึง Digital Marketing การทำคอนเทนต์ถือเป็นราชา

หากใครสงสัยว่า แล้วเราจะสร้างคอนเทนต์อย่างไรให้ธุรกิจเกิดผลลัพธ์สูงสุดล่ะ นี่เป็น 5 กลยุทธ์การทำ Content Marketing ที่จะช่วยให้แบรนด์เติบโตอย่างรวดเร็ว ผ่านการดึงดูดการมีส่วนร่วมจากผู้อ่านให้ได้มากที่สุด

ย้อนกลับไปในช่วงเวลาเก่า ๆ

หลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างว่า แฟชั่น Y2K ได้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งผ่านเพลงยุค 90 บนชาร์ต Spotify ซึ่งน่าจะเป็นผลพวงมาจากการล็อกดาวน์ในช่วงโรคระบาด ที่ทำให้ผู้คนต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากกว่าปกติ และไม่ได้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ เลย จนอาจก่อให้เกิดสภาวะคิดถึงช่วงเวลาเก่า ๆ ขึ้นมา นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เทรนด์ย้อนยุคกลับมาบูมอีกครั้ง

ดังนั้น นี่เป็นโอกาสอันดีที่เราจะใช้กระแสดังกล่าวมาทำเป็นคอนเทนต์ เพราะเมื่อสิ่งที่เราเขียนตรงกับสิ่งที่ผู้อ่านอยากจะอ่านแล้ว ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มยอดการมีส่วนร่วมให้มากกว่าเดิมนั่นเอง

เขียนผ่านมุมมอง Human-Driven

ไม่ว่านักการตลาดคนใดก็ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จคือการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าเทคนิค Data-Driven สำคัญมากในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเช่นนี้ แต่ลองคิดดูว่า หากเราปรับจากการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางมาเป็นใช้การมนุษย์ หรือผู้อ่านเป็นศูนย์กลาง (Human-Driven) แทน ด้วยการใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปในคอนเทนต์ด้วยจะดีแค่ไหน กล่าวคือ เราควรมีวิธีการพูดกับผู้อ่านที่ดูเป็นธรรมชาติ ใช้ภาษาแสดงอารมณ์เพื่อเน้นย้ำว่าเรามีความเข้าใจและเห็นใจในปัญหาของพวกเขาอย่างแท้จริง จากนั้น อาจปิดท้ายด้วยข้อเท็จจริงและสถิติต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสิ่งที่เราได้กล่าวไปข้างต้น และเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความไว้วางใจต่อแบรนด์

มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน

การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่ลดลงไประหว่างช่วงโรคระบาด ทำให้ปฏิสัมพันธ์แบบสองทางระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นไปโดยปริยาย โดยเราสามารถเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย แต่ถ้าหากใครรู้สึกว่าคอนเทนต์ที่เป็น Reels, Stories, หรือการใช้ฟิลเตอร์ต่าง ๆ ไม่เหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ก็สามารถใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายได้เช่นกัน เช่น การทำโพล การทำ Q&A หรือเกมต่าง ๆ เป็นต้น

ทำคอนเทนต์วิดีโอ

จากผลสำรวจเมื่อไม่นานมากนี้ พบว่า 59% ของนักการตลาดกล่าวว่า คอนเทนต์รูปแบบวิดีโอทำให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าหากกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคน Gen Z การทำวิดีโอสั้น ๆ จะช่วยให้เกิดการรับรู้แบรนด์และกระตุ้นการมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับธุรกิจเล็ก ๆ ที่มีงบประมาณจำกัด เพราะสมัยนี้ การทำคอนเทนต์วิดีโอไม่จำเป็นต้องลงทุนจำนวนมากไปกับขั้นตอนที่ยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแค่เราเปิดโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok, YouTube, Meta Stories หรือ Instagram Reels ก็สามารถสร้างวิดีโอสวย ๆ ขึ้นมาได้แล้ว แต่แนะนำว่าให้ทำคอนเทนต์ที่ไม่ซับซ้อน มีเนื้อหาเชิงบวก และในขณะเดียวกันก็นำเสนอสินค้าหรือบริการของตนเองไปด้วย นอกจากนี้ อาจลองไลฟ์สดเพื่อกระตุ้นยอดขาย โปรโมตอีเวนต์ หรืออัปเดตข่าวสารต่าง ๆ ให้ลูกค้ารับรู้ได้ด้วยเช่นกัน

ทำโฆษณาแบบ Shoppable

เมื่อเตรียมเนื้อหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว วิธีที่จะทำให้คอนเทนต์ที่เผยแพร่ออกไปถูกพบเห็นและช่วยเพิ่มยอดขายได้มากที่สุดคือ การทำโฆษณาแบบ “Shoppable” กล่าวคือ เป็นการโปรโมตสินค้าหรือบริการผ่านรูปภาพหรือวิดีโอ โดยเมื่อผู้ใช้งานคลิกที่สื่อเหล่านั้น ระบบก็จะลิงก์มายังหน้าเว็บไซต์ของเราทันทีภายในคลิกเดียว ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็วและสะดวกสบายเช่นนี้เองที่จะทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น และแบรนด์ก็จะได้เพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายมาเป็นลูกค้าอีกด้วย”

 

คุณเพลิน Senior Social Strategist

“แน่นอนว่าหลาย ๆ แบรนด์คงจะใช้เวลาไปกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ แต่มันอาจเสียเวลาเปล่าหากเราไม่มีกลยุทธ์ที่รัดกุม ซึ่งจะช่วยการันตีได้ว่าคอนเทนต์ของเราจะถูกมองเห็น

อย่างไรก็ดี ในขณะที่เราเริ่มเข้าสู่ยุคหลังโรคระบาด ปรากฏการณ์ในโลกโซเชียลมีเดียก็ยิ่งน่าจับตามองมากขึ้น เพราะแพลตฟอร์มเหล่านั้นช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างโอกาสในการนำเสนอสินค้าและบริการของตนเองมากกว่าที่เคย ด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

การเกิดโรคระบาดทำให้คนเราต้องหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีมากกว่าที่เคย ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้ามีความใกล้ชิดกันมากขึ้น และจะยิ่งใกล้กันมากกว่านี้เมื่อ Metaverse ได้รับการพัฒนา (คาดว่าจะมีมูลค่า 8 หมื่นล้าน ภายในปี 2024) รวมถึงเทคโนโลยี VR และ AR ที่จะถูกนำมาใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วย

นอกจากนี้ ฟังก์ชันการติดตาม (Tracking) บนอุปกรณ์ดิจิทัลและการใช้โซเชียลมีเดียก็มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับแบรนด์ว่าส่งข้อความหากลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและถูกเวลาแล้ว

ค่านิยมของผู้บริโภค

ดังที่เราทราบกันดีว่า ในยุคนี้ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซกำลังมาแรงเป็นอย่างมาก โดยประเทศไทยมียอดขายบนอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นถึง 76% ระหว่างปี 2020 และ 2022 และเมื่อผู้บริโภคคุ้นเคยกับการจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์แล้ว ก็ดูเหมือนว่าตัวเลขดังกล่าวไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงเลย

ทั้งนี้ ผู้บริโภคสมัยใหม่มักมองหาความคุ้มค่าของสินค้าและบริการที่ตนจ่ายไปเป็นหลัก ไม่ใช่เพียงแค่สินค้าและบริการดังกล่าวสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้เท่านั้น แต่ต้องตอบสนองคุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกที่สอดคล้องกับค่านิยมของตนเองด้วย

ค่านิยมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ส่งผลให้ธุรกิจต้องหันกลับมาพิจารณาอัตลักษณ์ เป้าหมาย และแนวทางการสื่อสารของแบรนด์สำหรับการทำการตลาดในปี 2023 ที่กำลังจะมาถึงนี้อีกครั้ง เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในการไตร่ตรองมากขึ้นก่อนจะตัดสินใจซื้อ

อนาคตของการตลาดบนโซเชียลมีเดีย

นับตั้งแต่ที่โซเชียลมีเดียได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ช่องทางดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนจากการเป็นเครื่องมือธรรมดา ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อผู้คน มาเป็นเครื่องมือการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงที่หลายธุรกิจต่างก็หันมาพึ่งพา และในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ปี 2023 ซึ่งอาจเต็มไปด้วยความผันผวนที่เกิดจากผลกระทบของโควิด-19 ก็มีแนวโน้มว่านักการตลาดบนโซเชียลมีเดียและเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เนื่องจากแบรนด์ต่าง ๆ ก็ล้วนมองหาวิธีเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าให้คิดค้นกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ผ่านการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค หาสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญ และสื่อสารออกไปให้ตอบโจทย์สิ่งที่กลุ่มคนเหล่านั้นกำลังมองหามากที่สุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขาย และที่สำคัญ อย่าได้ประเมินพลังของโซเชียลมีเดียต่ำไปเด็ดขาด

 

คุณซี Art Director

“ผมมองว่า Visual Communication Design เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเราไม่สามารถใช้มาตราใดมาวัดได้เลย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า รูปภาพคือหัวใจสำคัญของทุกแคมเปญการตลาด จากการศึกษาพบว่า 49% ของนักการตลาดมองว่ารูปภาพเป็นสิ่งที่กลยุทธ์การตลาดจะขาดไปไม่ได้เลย โดย 22% เห็นว่ารูปภาพมีความสำคัญ และอีก 19% กล่าวว่ากลยุทธ์ของพวกเขาจะไม่มีความหมายเลยหากปราศจากคอนเทนต์ที่มีภาพ อย่างที่เราทราบกันว่า ถึงอย่างไรคอนเทนต์ที่มีรูปภาพก็จะต้องถูกมองเห็นแน่นอน อย่างน้อยก็สัก 13 มิลลิวินาที และถ้าหากเราจับคู่มันเข้ากับข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วล่ะก็ ผู้อ่านจะจดจำคอนเทนต์นั้น ๆ ได้มากถึง 65% ไปอีก 3 วันเลยทีเดียว อนึ่ง ตัวเลขดังกล่าวจะลดลง 10% หากเราทำคอนเทนต์ที่มีแต่ตัวหนังสือเฉย ๆ

รูปภาพที่สวยงามประกอบคอนเทนต์ได้กลายมาเป็นประเด็นยอดฮิตสำหรับนักการตลาด หลังจากที่งานวิจัยของ Google พบว่าบล็อกที่ใส่รูปภาพอย่างน้อย 1 ภาพ จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมได้มากถึง 94% และหากเป็นโพสต์โซเชียลมีเดียจะมากกว่านั้น 2-3 เท่าเลยทีเดียว คงถึงเวลาแล้วที่เราจะถามตัวเองว่า เราได้ใส่ใจกับงานด้านกราฟิกเพื่อการสื่อสารการตลาดมากพอหรือยัง

อีกหนึ่งประเด็นที่ขาดไม่ได้คือการเล่าเรื่อง เนื่องจากผู้บริโภคสมัยใหม่นี้ถูกโฆษณาโน้มน้าวได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การใช้รูปภาพมาประกอบการเล่าเรื่องราวไปด้วย จะทำให้โฆษณาของเราดูมีพลัง และสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น

หากถามว่า แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเรื่องราวที่เราเล่าออกไปนั้นเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย คำตอบก็คือ “ข้อมูล (Data)” โดยในเอกสารของ Cisco ระบุว่า ในปี 2022 บุคคลหนึ่ง ๆ จะสร้างข้อมูลจำนวน 1.7 MB ทุก ๆ วินาที นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมข้อมูลจึงสำคัญต่อการพัฒนาคอนเทนต์ เพราะข้อมูลจะทำให้นักการตลาดสามารถสร้างเรื่องราวที่ไม่เหมือนใคร ทั้งยังโดนใจผู้อ่านได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น มีคำโบราณที่ยังใช้ได้จริงจนถึงปัจจุบันนี้กล่าวไว้ว่า “รูปภาพหนึ่งรูปแทนคำหนึ่งพันคำ” แต่คำเหล่านั้นก็ควรต้องมีรากฐานมาจากข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เรื่องราวที่สร้างออกมามีคุณภาพมากที่สุด

สุดท้ายนี้ ข้อมูลข้างต้นยังระบุว่า การเสพคอนเทนต์วิดีโอบนมือถือของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 17 เท่าตั้งแต่ปี 2012 เมื่อเป็นเช่นนั้น การยึดติดอยู่กับภาพนิ่งแบบเดิม ๆ อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป ในเมื่อเราสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจกว่าผ่าน “ภาพเคลื่อนไหว” บนโซเชียลมีเดียได้ และนั่นคือสิ่งที่ธุรกิจต้องเก็บไปคิดต่อเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในปี 2023 ที่กำลังจะมาถึงนี้”

 

คุณมิลค์ Ad Operations Manager

“โควิด การเวิร์กฟรอมโฮม และการรักษาระยะห่างทางสังคม ทั้งหมดนี้ล้วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน รวมถึงการเสพสื่อต่าง ๆ ส่งผลให้ช่องทางสื่อใหม่ ๆ เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ทุกคนจะมี 24 ชั่วโมงเท่าเดิม แต่ตอนนี้วิธีจัดสรรเวลาของแต่ละคนกลับต่างกันออกไป แล้วยังใช้สื่อหลากหลายแพลตฟอร์มมากขึ้น เมื่อก่อนอาจจะใช่ที่ว่า Google Search Ads และ Facebook Ads เป็นที่นิยมมาก แต่ตอนนี้ YouTube และ TikTok ได้ตีตื้นขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนนิยมเสพคอนเทนต์มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละช่องทางก็มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องทำการตลาดออนไลน์แบบ Full-Funnel อาจฟังดูเหมือนอุดมคติไปสักหน่อย แต่แท้จริงแล้วกลยุทธ์ดังกล่าวจำเป็นอย่างมากในปัจจุบันเลยทีเดียว

 สำหรับปีที่กำลังจะมาถึงนี้ ในฐานะนักการตลาดออนไลน์ เราต้องมีความกล้าที่จะออกจากเซฟโซนของตัวเอง แล้วมองหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อทำการตลาดดู และต้องไม่ใช่แค่การสุ่ม ๆ เลือกมาเท่านั้น แต่ต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์ว่าธุรกิจของเราเหมาะสมกับช่องทางใดมากที่สุด ตลอดจนเตรียมแผนสำรองเอาไว้ด้วย เพราะหลายปีที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้แล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายในชั่วพริบตา”

 

คุณเชษฐ์ Technical Director

“นักการตลาดมักมองหาแนวทางในการพัฒนาการทำงานอยู่เสมอ แต่ก่อนที่เราจะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้น เราต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่เราควรให้ความสนใจเป็นลำดับแรก ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเริ่มต้นทำการตลาดก็คือการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และนี่คือเคล็ดลับของผม

  • สร้างความโดดเด่นให้กับตัวเองด้วยเทคนิค SEO ที่ล้ำสมัย โดยการใช้แนวทางที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจ ตลอดจนอัปเดตกระบวนการ ทักษะ และความรู้อยู่เสมอ อันประกอบไปด้วย
  1. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
  2. ทักษะการวิเคราะห์ (Analytics Skills)
  3. ทักษะการใช้ข้อมูล (Data Skills)
  4. แรงจูงใจและความสามารถในการปรับตัว (Motivation & Adaptability)
  5. ทักษะการพูดและการเขียน (Speaking & Writing skills)
  • ทำให้ผู้ใช้งานพึงพอใจ โดยตอบสนองความต้องการของพวกเขาเหล่านั้น ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลบนเว็บไซต์ อันประกอบไปด้วย
  1. แบบสำรวจการใช้งานเว็บไซต์
  2. การทดสอบการใช้งานเว็บไซต์
  3. การเข้าถึงเว็บไซต์
  4. การเข้าใช้งานเว็บไซต์
  • ทำให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด ด้วยการสร้างคอนเทนต์ที่น่าดึงดูด เช่น
  1. กล่าวถึงสิ่งที่พวกเขากำลังต้องการหาคำตอบ
  2. จัดวางเนื้อหาในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกราฟิก วิดีโอ อินโฟกราฟิก หรืออีบุ๊ก ฯลฯ
  3. กระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์บางอย่าง
  4. สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้งาน

ทั้งนี้ ทุกธุรกิจสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ด้วยการมอบสิ่งที่มีคุณภาพแก่ลูกค้า กล่าวคือ คอนเทนต์ต้องมีความเฉพาะเจาะจงและมีประโยชน์ ทั้งยังต้องสร้างความเพลิดเพลิน ตลอดจนประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นและไร้รอยต่อ เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกอยากมีปฏิสัมพันธ์กับเรามากขึ้น

อย่างไรก็ดี ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรม SEO ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเทรนด์ SEO ในปี 2023 ก็มีแนวโน้มที่จะแตกต่างไปจากที่เราเห็นกันในปัจจุบันด้วย เพราะในขณะนี้ SEO จะเน้นเรื่องของคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เส้นทางของผู้บริโภค และขั้นตอนการ Crawl และ Index ของอัลกอริทึมเป็นหลัก และโฟกัสที่เรื่องลิงก์น้อยลง อันเป็นผลมาจากการที่อัลกอริทึมของ Google ซึ่งทำงานโดย AI ถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดลิงก์และเว็บไซต์ที่เป็นสแปม”

 

คุณมาร์ค CEO

“หนึ่งในเทรนด์ออนไลน์ที่กำลังมาในปี 2023 นี้ แล้วผมมองว่าน่าสนใจมากที่สุดคือ การถือกำเนิดขึ้นของ AI Writer และเครื่องมือสร้างคอนเทนต์ โดย Jasper และ Rytr คือหนึ่งในอีกหลายเครื่องมือ AI Writing ที่เปิดให้ใช้งานได้แล้วในปัจจุบัน ซึ่งคอนเทนต์ที่เครื่องมือเหล่านี้สร้างขึ้นนั้นจะถูกปรับแต่งให้มีความเหมาะสมกับเครื่องมือค้นหา และนั่นทำให้เครื่องมือดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่เครื่องมือที่ว่าจะส่งผลต่ออนาคตของเหล่านักเขียนอย่างไรนั้น ผมบอกได้เลยว่ามันจะช่วยให้ชีวิตการทำงานของพวกเขาง่ายขึ้นในระยะสั้นอย่างแน่นอน

กระนั้น จากการทดลองใช้งานของ Neil Patel พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าไรนัก โดยหลังจากการอัปเดตสแปมของ Google ครั้งล่าสุดนี้ Patel ได้มีการวิเคราะห์เว็บไซต์จำนวน 100 เว็บไซต์ของเขาเอง ก่อนจะพบว่าเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยคอนเทนต์ที่เขียนโดย AI ทั้งหมด มียอดการเข้าชมลดลง 17% อีกทั้งอันดับบนหน้าผลการค้นหายังลดลงถึง 8 อันดับ ในขณะที่เว็บไซต์ที่มีทั้งคอนเทนต์ที่เขียนโดย AI และที่เขียนโดยมนุษย์ มียอดการเข้าชมลดลง 6% และอันดับบนหน้าผลการค้นหาลดลง 3 อันดับเท่านั้น

ดังนั้น นี่จึงเป็นเทรนด์ที่ผมรู้สึกสนใจเป็นอย่างมาก และจะลองทำดูด้วยความระมัดระวัง เพราะเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการทำงานของเราเร็วขึ้น รวมถึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่น่าสนใจ แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็ไม่ได้มองว่ามันจะมาแทนที่มนุษย์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนและการศึกษาหาข้อมูลมากกว่าแต่อย่างใด กลับกัน ผมคิดว่าเราควรใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อสร้างไอเดียและลดการเกิดอาการ Writer’s block ของนักเขียนเท่านั้น และควรปรับแก้เนื้อหาเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย

อย่างที่ได้บอกไปว่า Metaverse เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามอง จากผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ของ Gartner พบว่า ภายในปี 2026 คนจำนวน 25% จะใช้เวลาอยู่บนโลก Metaverse อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งถือเป็นโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ของแบรนด์ที่จะเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายของตนเอง นอกจากนี้ ธุรกิจยังจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าว่าจะสร้างแบรนด์และเชื่อมต่อกับลูกค้าอย่างไรบนโลกดังกล่าว เช่น การสร้างเกมของแบรนด์ขึ้นมาเอง การสร้างประสบการณ์เสมือนจริง หรือแม้แต่การขายสินค้าดิจิทัล แต่ไม่ว่าจะทำสิ่งไหน เราต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าสิ่งที่ทำนั้นสอดคล้องกับคุณค่าและเป้าหมายของแบรนด์ใน “โลกจริง”

 

พัฒนาไปข้างหน้าอีกก้าว พร้อมกับดิจิทัลเอเจนซีชั้นนำของไทย

ที่ไพรมอล เรารู้ดีว่าการจะสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่เรื่องของการดำเนินการระยะสั้นเท่านั้น แต่รวมถึงความมุ่งมั่นในระยะยาวด้วย โดยหากคุณต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลเช่นนี้ คุณจำเป็นต้องทำให้แบรนด์ของตนเองเป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์เสียก่อน เพราะการทำเช่นนั้นจะนำมาซึ่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลอันดับต้น ๆ ของไทย เพื่อสร้างบริษัทการตลาดดิจิทัลที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณพบกับความสำเร็จ

ไพรมอล เป็นดิจิทัลเอเจนซีชั้นนำของไทยที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดมากกว่า 150 คนเอาไว้ด้วยกัน พวกเราทำหน้าที่เสริมจากทีมงานภายในองค์กรของคุณ ด้วยการใช้เวลาในการทำความเข้าใจ DNA ของแบรนด์ และค้นหาว่าอะไรที่จะทำให้คุณโดดเด่น จากนั้น เราจะใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีเพื่อสร้างกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และเหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณ

อะไร ๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เมื่อคุณมีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดที่ดีที่สุดในไทยอยู่เคียงข้าง ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับแผนการตลาดฟรีได้เลย